top of page

ไขมันในร่างกาย 3 ประเภท ที่เราต้องรู้จัก! แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ?

Updated: Jan 24


ไขมันในร่างกาย 3 ประเภท

หลาย ๆ ท่านมักไม่ชอบไขมันที่เกาะอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ต้นแขน ต้นขาใหญ่ ไม่ได้สัดส่วนตามที่ต้องการ แต่ทุกท่านทราบหรือไม่ว่าไขมันที่เกาะอยู่ตามบริเวณร่างกายนั้นหากเราดูแลร่างกายเป็นอย่างดี ไขมันเหล่านี้ก็มีข้อดีอยู่เช่นกัน… 

ดังนั้นวันนี้ทางเราจะมาแชร์เรื่องไขมันในร่างกายแบ่งออกเป็นกี่ประเภท! แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร? มีไขมันแล้วดีอย่างไร… อ่านได้ในบทความด้านล่างนี้กันเลยค่ะ


เลือกหัวข้อที่สนใจอ่านตามด้านล่าง


 

ในร่างกายของเราจะมีเซลล์ไขมันแบ่งออกได้เป็น 3 สี คือ สีขาว,สีเบจ และสีน้ำตาล ซึ่งไขมันแต่ละสีก็จะมีความแตกต่างกันดังนี้


ไขมันสีขาว (White Fat)

ไขมันสีขาว (White Fat)

เป็นเซลล์ไขมันที่เกาะอยู่ตามสะโพก รอบเอว,หน้าท้อง,ต้นขา,ต้นแขน และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งไขมันสีขาวจะทำหน้าที่สะสมไขมันในร่างกาย กักเก็บพลังงานสะสมเอาไว้ และนำไปใช้เมื่อร่างกายได้รับพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการ


โดยไขมันสีขาวยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้


ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง

ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง

เป็นไขมันที่พบได้ในชั้นใต้ผิวหนัง เกาะอยู่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น สะโพก,ต้นแขน ต้นขา และหน้าท้อง เป็นไขมันที่เราจับขึ้นมาแล้วจะเป็นก้อนตามผิวหนัง หรือที่เรียกว่า “เซลลูไลท์”


ไขมันในช่องท้อง

ไขมันในช่องท้อง

เป็นไขมันที่อยู่ลึกกว่าชั้นใต้ผิวหนัง ไม่สามารถเผาผลาญออกได้หมดในแต่ละวัน จึงทำให้ไขมันเข้าไปสะสมแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก และสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกิดก้อนไขมันแข็งตัว และดันตัวขึ้นมาทำให้เห็นท้องป่องขึ้นได้อย่างชัดเจน ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต และโรคหัวใจ เป็นต้น


 


ไขมันสีเบจ (Beige Fat) 

ไขมันสีเบจ (Beige Fat) 

เป็นเซลล์ไขมันที่ผสมอยู่ในเซลล์ไขมันสีขาว และเซลล์ไขมันสีน้ำตาล ซึ่งจะมีไมโตคอนเดรียจำนวนมาก  ทำให้ลักษณะเด่นในการทำงานจะคล้ายคลึงกับเซลล์ไขมันสีน้ำตาล ที่จะช่วยในการเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้มากยิ่งขึ้น 


 

ไขมันสีน้ำตาล (Brown Fat)

ไขมันสีน้ำตาล (Brown Fat)

เป็นเซลล์ไขมันที่มีไมโตคอนเดรียอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งทำหน้าที่ในการเผาผลาญพลังงาน ทำให้เกิดความร้อน ซึ่งมีมากในเด็กแรกเกิด เพื่อคงอุณหภูมิในร่างกายให้รู้สึกอบอุ่นจากอากาศที่หนาวเย็น และจะลดลงเมื่อร่างกายเจริญเติบโตขึ้น

   ดังนั้นไขมันสีน้ำตาลจึงเป็นไขมันชนิดดีที่คอยรักษาสมดุลให้กับร่างกายให้รู้สึกอบอุ่น คนที่มีปริมาณไขมันสีน้ำตาลจำนวนมากจะสามารถเผาผลาญพลังงาน และทนความหนาวเย็นได้นานกว่า​ 


อยากเพิ่มไขมันสีน้ำตาลต้องทำอย่างไร ?


  1. การรับประทานอาหาร : สามารถช่วยกระตุ้นเซลล์ไขมันสีน้ำตาลได้ เช่น เพิ่มการรับประทานชาเขียว, พริกไทย, พริกขี้หนู, พริกชี้ฟ้า และกระเทียม เนื่องจากมีสารแคปไซซิน ที่จะช่วยในเรื่องการเผาผลาญพลังงานได้ดี

  2. เพิ่มการออกกำลังกาย : การออกกำลังกายหนักสลับกับเบา จะทำให้โปรตีนไอริซิน เปลี่ยนจากไขมันสีขาวเป็นไขมันสีน้ำตาลได้

  3. ปรับอุณหภูมิร่างกายให้เย็นลง : หากมีการปรับอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในสภาพที่เย็นลง จะทำให้เซลล์ไขมันสีน้ำตาลเกิดการเผาผลาญพลังงานได้ดียิ่งขึ้น


 

ความแตกต่างระหว่างไขมันสีขาว และสีน้ำตาล ?


ไขมันสีขาว


ไขมันสีขาว

  • เป็นเนื้อเยื่อไขมันสีขาว ที่ประกอบไปด้วยเซลล์สีขาวที่เต็มไปด้วยไขมัน

  • พบใต้ผิวหนัง และรอบอวัยวะต่าง ๆ

  • ประกอบด้วย Mitocondria

  • สะสมไขมัน กักเก็บพลังงาน และนำไปใช้เมื่อร่างกายต้องการ

ไขมันสีน้ำตาล


ไขมันสีน้ำตาล

  • เป็นเนื้อเยื่อไขมันสีเข้ม ที่ก่อให้เกิดความร้อนอย่างรวดเร็ว

  • พบที่สะบัก และใต้ผิวหนัง

  • ประกอบด้วย Mitocondria หลายชนิด

  • โดดเด่นด้วยการมี Leptin ทำให้เกิดความร้อน เผาผลาญพลังงาน


 

bottom of page