top of page

"เครียดมากไป ทำร้ายใจและสุขภาพ" วิตามินบี ประโยชน์ดีแก้เครียด

Updated: Dec 26, 2022


เครียด...ใคร ๆ ก็เป็นกัน ภาวะเครียดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยทำงานที่วัน ๆ เครียดกับงานเศรษฐกิจ ครอบครัว คนหนุ่มคนสาวชาว Gen C ก็ไม่วายเครียดกับเรื่องอนาคต ความสุข ที่อยากจะสร้างสมดุลให้ชีวิต หรือแม้แต่นักเรียนนักศึกษาเองก็ไม่วายเครียดกับการเตรียมตัวสอบ

ยิ่งในสถานาการณ์ปัจจุบัน ท่ามกลางปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสที่กำลังระส่ำระสายไปทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายคนอาจเกิดความรู้สึกเครียด กังวล ส่วนหนึ่งเพราะความไม่แน่ใจต่อสถานการณ์ดังกล่าว อีกส่วนเป็นความกังวลที่ต้องพยายามระมัดระวังตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เสี่ยงติดเชื้อไวรัส ด้วยเหตุนี้ทำให้ส่งผลกับชีวิตประจำวันเรานั้นต้องเผชิญกับความเครียดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยธรรมชาติมนุษย์สามารถทนต่อความเครียดได้เพียงแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าความเครียดนั้นยังคงเพิ่มขึ้นๆอยู่เรื่อยๆ และปล่อยให้สะสมมากเกินความสามารถที่จะปรับตัวได้จะเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก



ความเครียดเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง หรือเจอเรื่องราวที่ทำให้รู้สึกกดดัน วิตกกังวล หงุดหงิดไม่สบายใจ ผิดหวัง เสียใจอย่างรุนแรง หรือการใช้ชีวิตประจำวันแบบซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่รูปแบบของความเครียดอาจจะแตกต่างกัน ทั่วไปแล้ว ความเครียดจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ

1.ความเครียดแบบเฉียบพลัน เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วน เช่น เครียดเมื่อใกล้ถึงเดตไลน์การส่งงาน เมื่อต้องออกไปยืนพูดต่อหน้าคน เครียดในการสอบของนักเรียนนักศึกษา ความเครียดในเกมกีฬาของนักกีฬา หรือเมื่อต้องขับรถออกถนนใหญ่เป็นครั้งแรก ความเครียดรูปแบบนี้จะไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการ “ตื่นตัว” ผ่านการหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อ คอร์ติซอล ซึ่งเป็นกลไกทางธรรมชาติที่ร่างกายเตรียมพร้อมรับกับเหตุการณ์ที่ไม่ปกตินั้นเอง ซึ่งเจ้าความ “ตื่นตัว” จะสั่งการให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้น เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย ตัวร้อนหรืออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ในช่วงนี้ระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำงานมากขึ้น แต่เมื่อผ่านไปอาจทำให้รู้สึกเมื่อยล้า อ่อนเพลีย

2.ความเครียดแบบเรื้อรัง เป็นความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะสมเป็นเวลานาน จากการทำงานหนักมากเกินไป พักผ่อนไม่พอ หรือ ออกกำลังกายหนักจนร่างกายฟื้นตัวไม่ทันทำให้เกิดความเครียดสะสม ไม่เพียงแต่ความเครียดเรื้อรังนาน ๆ สามารถทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า แต่ร่างกายจะสั่งให้ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาเพื่อรับมือกับความเครียดอย่างต่อเนื่อง และเมื่อยิ่งนานไปก็จะกดการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มีภูมิคุ้มกันให้ลดลง ซึ่งทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อง่ายขึ้น และร่างกายอ่อนแอ



เรามีวิธีลดความเครียดได้หลายวิธี เช่น การใช้ดนตรีบำบัด(Music Therapy), การออกกำลังกาย, การดูหนัง, ซีรี่ย์, ฟังเพลง รวมถึงการรับประทาน วิตามิน บี ก็ยังเป็นทางเลือกที่ดีอีกหนึ่งวิธีที่มีผลการวิจัยทางการแพทย์ว่าสามารถบรรเทาความเครียดทำให้อารมณ์ดีขึ้น และเผาผลาญสารอาหารที่จะเป็นพลังงานให้กับสมอง ทำให้สมองสดชื่น ปลอดโปร่ง

ในภาวะที่ร่างกายเผชิญกับความเครียด สมองและระบบประสาทต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก และต้องใช้วิตามินบีมากขึ้นด้วยเพื่อเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในขบวนการสร้างพลังงานจากสารอาหาร ดังนั้นในขณะเครียดวิตามินบีจึงถูกใช้หมดลงอย่างรวดเร็วผลก็คือระบบต่างๆของร่างกาย รวมถึงสมองและระบบประสาทจะขาดพลังงานในการทำงาน ซึ่งนำไปสู่ภาวะเครียดที่รุนแรงยิ่งขึ้น ผู้อยู่ในภาวะเครียดจึงควรได้รับวิตามินบี ปริมาณสูงเพียงพอเพื่อใช้เปลี่ยนสารอาหารให้เป็นพลังงานแก่ระบบต่างๆ ของร่างกายรวมถึงสมองและระบบประสาทได้ทันที



ต่อให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินบีขึ้นมาเองไม่ได้ แต่เราก็สามารถเติมวิตามินบีเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยอาหารอุดมไปด้วยวิตามินบี อาทิ ธัญพืชไม่ขัดขาว เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ ถั่ว ปลา นม พืชตระกูลถั่ว และผักใบเขียว และในกลุ่มของวิตามินบียังทำหน้าที่ต่างกัน ซึ่งจะทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาที่สมบูรณ์ วิตามินบีมีหลายชนิด ชนิดที่ทำงานเกี่ยวกับภาวะทางอารมณ์ ความเครียด มีดังนี้

วิตามินบี 1 (ไธอะมิน)บรรเทาอาการซึมเศร้าและการกำเริบของอาการวิตกกังวล

วิตามินบี 3 (นิโคตินามายด์) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองและระบบประสาท ป้องกันอาการซึมเศร้า

วิตามินบี 5 (กรดแพนโทเทนิค) บรรเทาความตึงเครียดจากธรรมชาติ

วิตามินบี 6 (ไพริดอกซิน)เสริมสารต้านอาการซึมเศร้าที่มีอยู่ในร่างกาย ได้แก่ โดพามีนและนอร์เอพิเนฟริน

วิตามินบี 8 (อินโนซิทอล) บรรเทาความเครียด ปรับสารเคมีในร่างกาย ป้องกันโรคซึมเศร้า ลดความวิตกกังวล

วิตามินบี 9 (กรดโฟลิค) การขาดกรดโฟลิคมีส่วนต่อการเกิดอาการป่วยทางจิต

วิตามินบี 11 (โคลีน) ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย

วิตามินบี 12 (ไซยาโนโคบาลามีน)บรรเทาอาการหงุดหงิด ทำให้สมาธิดีขึ้น ช่วยบำรุงระบบประสาท

ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้หลากหลายเพื่อรับสารอาหารครบถ้วน แต่ในยุคที่ทุกอย่างเร่งรีบ ชีวิตที่ทุกอย่างแข่งกับเวลา ไหนจะเครียดเรื่องงาน ความสัมพันธ์ สภาพอากาศที่แย่ รถติด แค่จะหลีกเลี่ยงความเครียดยังยาก หากเพิ่มความยุ่งยากในการสรรหาอาหารที่มีประโยชน์มารับประทานในแต่ละวันสำหรับบางคนอาจเพิ่มความเครียดมากกว่าเดิม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินบีพร้อมแร่ธาตุที่จำเป็นที่มีส่วนช่วยในขณะที่ร่างกายอยู่ในภาวะเครียดดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ

6 views0 comments
bottom of page