top of page

ลักษณะผิวมีกี่ประเภท ?

Updated: Sep 25, 2023


ลักษณะผิวมีกี่ประเภท

สารบัญ


 

1. ผิวหนังคืออะไร ?

ผิวหนัง คือ อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายปกคลุมทั่วบริเวณ มีลักษณะพื้นผิวที่แตกต่างกันออกไปตามส่วนของร่างกาย โดยที่โครงสร้าง ความหนา สีผิว ก็จะต่างกันขึ้นอยู่ที่กรรมพันธุ์และการดูแลรักษาของแต่ละบุคคล

ผิวหนัง มีด้วยกัน 2 ชั้น ดังนี้


ผิวหนัง

1.1. ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) : ผิวชั้นบนสุด เป็นชั้นผิวที่ประกอบไปด้วยเซลล์ผิวที่มีการเกิด เจริญเติบโต และตายหลุดลอกออกอยู่ตลอดเวลา เป็นชั้นที่มีโครงสร้างต่างๆมากมาย เช่น รูขุมขน เส้นขน ต่อมไขมัน เล็บ ต่อมเหงื่อ เม็ดสี เป็นต้น ชั้นนี้มีความหนาอยู่ประมาณ 0.4-1.5 มม. โดยที่ความหนาของชั้น Epidermis จะแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณ ทำให้สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

1.1.1. ชั้น Thick skin : เป็นบริเวณชั้น Epidermis ที่หนาอยู่บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า ไม่มีขน รูขุมขน หรือกล้ามเนื้อบริเวณนั้น แต่จะมีต่อมเหงื่อเป็นจำนวนมาก

1.1.2. ชั้น Thin skin : เป็นบริเวณชั้น Epidermis ที่บาง พบได้ทั่วร่างกาย เป็นผิวที่มีรูขุมขน เส้นขน ต่อมเหงื่อ เป็นต้น


1.2. ชั้นหนังแท้ (Dermis) : เป็นผิวที่อยู่ชั้นใต้ Epidermis มีความหนาประมาณ 1-2 มม. ผิวชั้นนี้จะประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น Collagen, Elastin ที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น แรงยืดของชั้นผิว การอุ้มน้ำ ควบคุมอุณหภูมิ ปกป้องร่างกายจะสิ่งแวดล้อมภายนอก และยังมีระบบเส้นเลือดและระบบประสาทด้วย

 

2. ลักษณะผิวมีกี่ประเภทและสาเหตุการเกิด ?

ลักษณะผิวสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท

2.1 ผิวธรรมดา (Eudermic) : ลักษณะผิวที่มีความสมดุล มีสุขภาพผิวที่ดี บริเวณ T-zone (หน้าผาก, จมูก, คาง) มีความมันเล็กน้อยแต่ยังมีความชุ่มชื้นของใบหน้าที่ช่วยให้สมดุลกัน (ไม่แห้งไม่มันเกินไป)


ข้อที่บ่งบอกว่าเป็นผิวธรรมดา

- ไม่มีสิว

- ผิวเนียนเรียบ

- รูขุมขนเล็ก

- ผิวใส ไม่มีรอยหมองคล้ำ

ผิวธรรมดา

2.2 ผิวแห้ง (Xerosis) : ลักษณะผิวที่มีความมันน้อยกว่าปกติ เกิดจากการขาดกรดไขมันที่ปกติจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการรักษาความชุ่มชื้นและช่วยปกป้องผิวจากมลภาวะ ทำให้ผิวดูหยาบ กระด้าง เป็นริ้วรอย ได้ง่าย โดยที่ลักษณะผิวแบบนี้มักจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และเมื่ออายุมากขึ้นก็จะยิ่งแห้งขึ้นไปเรื่อย ๆ


สาเหตุที่ทำให้เกิดผิวแห้ง

- เหงื่อ : ผ่านการทำกิจกรรม ความร้อน ที่เข้ามาทำให้เกิดความสูญเสียน้ำจากต่อมเหงื่อ

- การสูญเสียน้ำผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ : น้ำจากใต้ผิวหนังชั้นลึกจะถูกแทรกซึมออกมาชั้นตื้นในทุกวัน

- การขาดหายของกรดไขมันในชั้นผิวหนัง

- การขาดหายของกรดแลคติด ยูเรีย กรดอะมิโน ที่ใช้ในการอุ้มน้ำ

- อากาศหนาว เย็น


ระดับความรุนแรงของผิวแห้งสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ

- ผิวแห้งขาดความชุ่มชื้น


ผิวแห้ง

- ผิวแห้งแตก ผิวลอกเป็นขุย มักพบบริเวณ มือ เท้า ข้อศอก หัวเข่า


ผิวลอกเป็นขุย

2.3 ผิวมัน (Oily skin) : ลักษณะของผิวที่มีการผลิตไขมันในชั้นผิวมากจนเกินไป สังเกตุได้จากการที่มีรูขุมขนกว้างอย่างชัดเจน ผิวมันวาว ซึ่งผิวลักษณะนี้มีโอกาสที่จะเกิดสิวอุดตัน (Comedone) แล้วเกิดเป็นสิวอักเสบชนิดต่างๆตามมาได้


สาเหตุที่ทำให้เกิดผิวมัน

- พันธุกรรมของแต่ละบุคคล

- ความเครียด

- การใช้ยา

- ฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลง

- การใช้เครื่องสำอาง (อาจเกิดการอุดตัน)

- อากาศร้อน ชื้น

ผิวมัน

2.4 ผิวผสม (Combination skin) : ลักษณะของผิวที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณ อาจจะมีทั้งผิวมันและผิวแห้งผสมกัน มีรูขุมขนที่กว้าง ผู้ที่มีผิวลักษณะนี้มักจะมีความแตกต่างบริเวณ T-zone และบริเวณแก้ม ซึ่งอาจพบ สิวหัวดำ ที่จมูกและสิวขึ้นที่หน้าผากและคาง


สาเหตุที่ทำให้เกิดผิวผสม

- พันธุกรรม

- ฮอร์โมน

- อากาศที่เปลี่ยนแปลง


ผิวผสม

 

3. การประเมินลักษณะผิว ?

ลักษณะของผิวแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน จึงทำให้ต้องมีการประเมินสภาพให้ทราบแน่ชัดก่อนว่าเรานั้นมีลักษณะผิวแบบใดจะได้เลือกการรักษาที่เหมาะสมแก่ตัวบุคคล

แพทย์ผิวหนังจะมีการจำแนกลักษณะผิวต่างๆตามปัจจัยนี้

- ริ้วรอยบนพื้นผิว

- ความยืดหยุ่นของผิว

- สีผิว การกระจายตัวของเม็ดสีในชั้นผิว

- ปริมาณความมัน

- ปริมาณเหงื่อ น้ำบนชั้นผิว

- Natural moisturizing factor เช่น กรดอะมิโน

- ความไวของผิว


 

4. การดูแลรักษาปัญหาผิวแต่ละประเภท ?

4.1. การดูแลรักษาผิวแห้ง : ลักษณะผิวแห้งที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดการแตกแยกออกจากกันได้แล้ว ส่งผลให้มีเลือดออกได้ตามรอยแตกนั้น

- หลีกเลี่ยงการขัด ถู และน้ำร้อน บริเวณที่มีผิวแห้ง เพราะอาจทำให้ผิวที่แห้งแตก ลอกกว่าเดิม

- การฉีด Mesotherapy : ที่สารในกลุ่มที่ช่วยเก็บกักน้ำในชั้นผิว หรือเสริมความชุ่มชื้น

- ควรใช้ผลิตภัณฑ์หรือโลชั่นที่มีส่วนผสมของ Moisturizer ทาทั่วบริเวณหลังอาบน้ำเสร็จ

- ถ้าหากผิวแห้งรุนแรงมากแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Lactic acid, Shea butter, Petroleum, Glycerine เป็นต้น

- ในกรณีที่เกิดการอักเสบรุนแรง ผิวลอก แตก เป็นขุย ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาด้วยยา Steroid เพื่อลดการอักเสบและใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาการติดเชื้อที่บริเวณผิวหนัง


4.2. การดูแลรักษาผิวมัน : ลักษณะผิวมันส่วนใหญ่แล้วสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรมซึ่งแก้ไขได้ยากแต่ก็สามารถลดการเกิดผิวมันได้

  • ล้างทำความสะอาดหน้าเพื่อลดความมัน แต่ไม่ควรล้างเกิน 2 ครั้ง/วัน เพราะทุกครั้งที่ล้างหน้าจะลดความชุ่มชื่นทำให้เกิดหน้าแห้งได้

  • ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ควบคุมมัน

  • ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เป็นกลุ่มของ Moisturizer ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน จะช่วยเพิ่ม ความชุ่มชื้นให้กับผิว ทำให้ต่อมไขมันไม่จำเป็นต้องผลิตน้ำมันมาทดแทนความชุ่มชื้น

  • ใช้ผลิตภัณฑ์มาร์กหน้าช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหน้าและควรเลือกส่วนผสมที่มีคุณสมบัติในการควบคุมความมัน

  • ใช้กระดาษซับมันเพื่อควบคุมความมันในระหว่างวัน

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Alpha-hydroxy acid (AHA) หรือ Beta-hydroxy acid (BHA) ที่มีคุณสมบัติในการผลัดเซลล์ผิวได้ แต่แนะนำ BHA เพราะสามารถละลายได้ดีในน้ำมันและช่วยปรับรูขุมขนให้เล็กลงได้

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการสครับผิว จะช่วยลดการอุดตันของสิ่งสกปรกและผลัดเซลล์ผิวใหม่ได้ดี

  • การฉีด Botox : Botulinum toxin จะเข้าไปยับยั้งการส่งของสารสื่อประสาทบริเวณต่อมไขมันจึงช่วยลดการผลิตไขมันใต้ชั้นผิวลงได้

4.3. การดูแลรักษาผิวผสม : ลักษณะผิวผสมจะมีความยากในการดูแลรักษามากกว่าผิวมันและผิวแห้ง เนื่องจากการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการบำรุงรักษาต้องแบ่งการดูแลเป็น 2 กลุ่ม (ผิวมันและผิวแห้งก็ดูแลแตกต่างกันไป)ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ โดยที่บริเวณที่เป็นหน้ามันมักจะเป็น T-zone


 


bottom of page