top of page

คีลอยด์ Keloid ร่องรอยของความเจ็บปวด

Updated: Dec 26, 2022

ไม่อยากมีแผล “คีลอยด์” ร่องรอยที่ติดตัว

จนสูญเสียความมั่นใจ

ใครจะรู้ว่าคีลอยด์นั้น

สามารถรักษาให้ดูดีเรียบเนียนขึ้นได้


วันนี้ InnovationBeauty

พามาทำความรู้จักแผลเป็นคีลอยด์

สาเหตุ > ประเภท > การรักษา> อันตราย⁉

วิธีไหนที่เหมาะกับการรักษาแผลคีลอยด์ของคุณ



คีลอยด์ (Keloid) คือ... แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid) คือแผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะนูนเงาและขยายใหญ่กว่าแผลเป็นที่เกิดขึ้น ในช่วงแรกๆ จะปรากฏเป็นสีแดงแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือซีดลง โดยอาจเกิดขึ้นทันทีที่แผลหายหรือหลังจากที่แผลหายดีได้สักพัก บางครั้งอาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีกว่าจะก่อตัวขึ้นมา อาจทำให้รู้สึกเจ็บ คัน ระคายเคือง ส่งผลกระทบถึงเรื่องความสวยความงาม สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักขึ้นตาม หน้าอก หัวไหล่ หลัง ลำคอ และติ่งหู ซึ่งแผลเป็นคีลอยด์จะคงอยู่เป็นเวลาหลายปี


กลไก/สาเหตุการเกิดคีลอยด์

สาเหตุของการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการรักษาแผลตามธรรมชาติของร่างกาย โดยปกติผิวหนังจะมีไฟโปรบลาสต์ (Fibroblast) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย แต่หากกระบวนการนี้ทำงานมากจนเกินไปจะทำให้เกิดแผลเป็น โดยจะก่อตัวขึ้นหลังจากที่ได้รับบาดแผลบริเวณผิวหนัง เช่น แผลจากการผ่าตัด แผลจากการเจาะตามร่างกาย แผลไหม้ แผลจากอีสุกอีใส แผลจากสิว หรือแม้กระทั่งแผลที่เกิดจากรอยขีดข่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ มีรายงานของวารสารวิชาการการผ่าตัดโรคผิวหนัง ในปี 2009 กล่าวว่าการสังเคราะห์คอลลาเจนในแผลเป็นคีลอยด์จะสูงกว่าผิวปกติที่ไม่มีแผลเป็นถึง 20 เท่า และสูงกว่าในรอยแผลเป็นนูนหนาถึง 3 เท่าเลยทีเดียว

แบบไหนถึงเรียกว่าคีลอยด์

แผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar)

จะมีขอบเขตของแผลเป็นใกล้เคียงหรือเท่ากับรอยเดิมของแผล และอาจมีอาการคัน ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 1 เดือนหลังแผลหาย และเมื่อทิ้งไว้อาจจะยุบแบนราบลงได้เอง ภายในระยะเวลา 12-24 เดือน


แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid)

จะเป็นแผลเป็นที่โตนูน และขยายใหญ่เกินขอบเขตของแผลเดิมไปมาก อาจมีอาการคันและเจ็บร่วมด้วย และอาจเกิดได้ทันทีหรือเกิดขึ้นหลังแผลหายแล้วตั้งแต่ 3 เดือนเป็นต้นไป


และเมื่อทิ้งไว้จะคงอยู่ไม่ยุบแบนราบลงได้เอง และยิ่งไปกว่านั้นบางรายอาจมีขนาดโตขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 10 – 30 ปี อาจมีแนวโน้มจากพันธุกรรม ซึ่งผู้ที่เป็นแผลคีลอยด์ก็อาจมีสมาชิกในครอบครัวที่เคยเป็นคีลอยด์ได้เช่นเดียวกัน


วิธีการรักษาคีลอยด์

1. การรักษาโดยใช้ยาทาแก้แผลเป็น เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาที่มีวิตามิน E หรือ A เป็นส่วนประกอบ กรณีที่แผลเป็นนูนเป็นเพียงเล็กน้อยและไม่นานนัก


2. การรักษาโดยใช้แผ่นซิลิโคนเจลปิดบริเวณแผลเป็น สำหรับแผลเป็นที่เป็นใหม่ๆ จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับแผลเป็น ลดการอักเสบ ลดการขยายตัวของแผล


3. การฉีดยาด้วยยาสเตียรอยด์ โดยฉีดยาเข้าไปในชั้นผิวหนังแท้เพื่อลดการอักเสบและ mediators ลดการสร้างคอลลาเจน ทำให้แผลเป็นแบนราบลง

ยาที่แนะนำคือ Triamcinolone acetonide หากใช้ยาไปแล้ว 4 ครั้งยังไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นแทน


4. เลเซอร์รอยแผลเป็น (Laser therapy) เพื่อทำลายเนื้อเยื่อรอยแผลเป็น ทั้งนี้แพทย์อาจใช้วิธีการอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น การกรอผิวเพื่อปรับสภาพผิวให้เรียบเนียนขึ้น


5. การผ่าตัด การผ่าตัดเพื่อแก้ไขแผลเป็นนั้น มักจะเลือกใช้เมื่อใช้วิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลแล้ว โดยนิยมใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การฉีดยา หรือการปิดด้วยแผ่นซิลิโคนก็ได้ การผ่าตัดมีอยู่หลายวิธี อาจจะใช้วิธีตัดออกโดยตรงแล้วเย็บปิดเป็นเส้นตรง หรืออาจจะตัดออกเป็นรูปซิกแซก เพื่อที่จะให้แผลเป็นที่เกิดขึ้นใหม่มีลักษณะใกล้เคียงกับรอยย่นตามผิวหนัง

bottom of page