top of page

"ขนคุด" ผิวหนังไก่...กวนใจ...รำคาญใจ

Updated: Dec 26, 2022

“ขนคุด” กุ๊กๆ เหมือนหนังไก่

ความผิดปกติในร่างกาย

ที่สร้างความรำคาญใจให้ผิว

ใครที่อยากมีผิวเรียบเนียนไร้ที่ติ

สวยมั่นใจไม่มีรอยสะดุด

ต้องเข้ามาลองดูไปพร้อม ๆ กันกับ

Innovation Beauty

ว่าขนคุดนั้นแท้จริงคืออะไร

เกิดมาจากสาเหตุใด

อันตรายต่อผิวหรือไม่

และเราจะแก้ปัญหาขนคุดอย่างไร



มารู้จักขนคุดกันเถอะ


ขนคุดถือเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า โรคขนคุด (Keratosis pilaris, KP) เป็นอีกโรคที่ติดอันดับต้น ๆ ในการสร้างความรำคาญพอ ๆ กับเรื่องสิว


ขนคุดพบได้บ่อย ประมาณ 50-80% ในเด็กและวัยรุ่น โรคนี้มักจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักจะพบมากในผู้ที่มีผิวแห้งมากกว่าผิวมัน


โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่อากาศเย็นลงอาการก็จะยิ่งมากขึ้น หรือมักเจอร่วมกับผู้ที่มีปัญหาภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้ผิวหนัง ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ แต่โรคนี้ไม่อันตราย มันได้แค่สร้างความรำคาญทำให้ผิวเราดูไม่เรียบเนียนและไม่เกลี้ยงเกลา เวลาสัมผัสแล้วรู้สึกเป็นเม็ด ๆ ตามผิวหนัง

โรคขนคุดเกิดจากสิ่งใด

โรคขนคุด เกิดมักเกิดจากเกิดจากพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของการสร้างเซลล์ผิวหนัง (Keratinization) ที่ส่งผลให้บริเวณรูขุมขน มีการอุดตันด้วยสารเคราติน ที่เราเรียกว่า Keratin plug (สารเคราตินเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่เซลล์ผิวหนังสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการการติดเชื้อ หรือป้องกันสารอันตรายต่าง ๆ ที่ผิวหนัง)


ส่งผลให้เกิดการอุดตันที่บริเวณทางออกของรูขุมขน ขนที่อยู่ด้านในจึงไม่สามารถงอกทะลุรูขุมขนออกมาได้ เกิดเป็นขนขดงอคุดอยู่ใต้ผิวหนัง จะเห็นเป็นตุ่ม ๆ ตามรูขุมขน ทำให้ผิวหนังดูสาก คล้ายหนังไก่ มักพบบริเวณต้นแขนด้านนอก ต้นขา แผ่นหลัง โดยอาการจะเริ่มเป็นช่วงวัยรุ่น และมักจะดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น


อาการของโรคขนคุด

- มีตุ่มนูนเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง

- ผื่นมักเกิดขึ้นที่ต้นแขน - ต้นขาส่วนบน แก้ม และก้น

- มักไม่มีอาการเจ็บหรือคัน

- สีที่พบมีได้ตั้งแต่สีเดียวกับผิวปกติ สีขาว สีแดง ไปจนถึงสีดำได้ในคนผิวดำ

- เมื่อลูบสัมผัสที่ผิวหนังจะรู้สึกผิวแห้งและมีตุ่มนูน ๆ คล้ายกระดาษทราย


วิธีการรักษาขนคุด

การรักษาจะเป็นการบรรเทาอาการ

1.การใช้ยาทา

ใช้ยาทาผลัดเซลล์ผิวอุดตัน (Keratolytic) ที่มีส่วนผสมของกรดอัลฟาไฮดรอกซี กรดแลคติก กรดซาลิไซลิก หรือยูเรีย ส่วนผสมเหล่านี้จะช่วยผลัดและกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป


ใช้ยาทาอนุพันธุ์ของวิตามินเอ (Topical Isotretinoin) ช่วยในการผลัดโปรตีนเคราตินให้อุดตันออก แต่อาจมีผลข้างเคียงเป็นอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง โดยส่วนใหญ่แพทย์จะเริ่มต้นจากยาที่มีความเข้มข้นต่ำก่อน เช่น 0.025% ใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ ใช้ในช่วงที่ตุ่มของโรคขนคุดมีอาการแดง คัน และอักเสบเท่านั้น โดยให้ใช้ยากลุ่มนี้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2 สัปดาห์


2. เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว

เพื่อทำให้บริเวณที่เป็นขนคุดมีอาการดีขึ้นได้ ควรเลือกใช้สบู่แบบอ่อนโยน สำหรับผิวแห้งหรือผิวแพ้ง่าย ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงให้ความชุ่มชื้นหลังอาบน้ำเช้า-เย็น และทาได้บ่อยขึ้นอีกบริเวณผิวที่แห้ง หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน เพราะจะทำให้ผิวแห้ง งดการขัด (Scrub) ผิว เนื่องจากจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น


3. การรักษาด้วยเลเซอร์

การยิงเลเซอร์ที่ไปยังผิวหนังที่มีอาการขนคุด เพื่อลดปริมาณตุ่มขนคุด จากขนที่ไม่สามารถงอกได้ตามปกติ จะทำให้ไม่มีเส้นขนงอกออกมา หรือเส้นขนขนาดเล็กลง ทำให้ตุ่มเล็กลง หรือเรียบไปจึงช่วยบรรเทาอาการขนคุดให้ดีขึ้นได้

bottom of page