top of page

Covid-19 กับค่าออกซิเจนในเลือด เกี่ยวข้องกันอย่างไร

Updated: Dec 26, 2022

เคยสงสัยกันไหม? ว่าทำไม การติดเชื้อ Covid-19 ถึงเกี่ยวข้องกับค่าออกซิเจนในเลือด แล้วค่าออกซิเจนในเลือดวัดวิธีใดง่ายที่สุด


วันนี้ Innovation Beauty จะพารู้ว่า..... หลักการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้ว การอ่านค่าออกซิเจน แล้วค่าที่ควรเป็น ผลของค่าออกซิเจนกับอาการ COVID 19

ไปหาคำตอบ ไขข้อสงสัย พร้อมกันเลย เกี่ยวกับเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว กันค่ะ


(Hemoglobin) ฮีโมโกลบินเป็นส่วนประกอบสำคัญ ที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่นำออกซิเจนไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย แต่ละชนิดที่สามารถถูกตรวจวัดได้ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ดังนี้ (Fingertip Pulse Oximeter)


1. Oxyhemoglobin (ออกซีฮีโมโกลบิน) คือฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับออกซิเจนในเลือด


2. Deoxyhemoglobin หรือ Reduce Hemoglobin (ดีออกซีฮีโมโกลบิน) คือฮีโมโกลบินที่ปลดปล่อยออกซิเจนออกไปแล้ว โดยส่วนมากจะจับกับ Carbon Dioxide ซึ่งปลดปล่อยออกมาจากเซลล์


3. Carboxyhemoglobin (คาโบออกซีฮีโมโกลบิน) คือฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับ Carbon Monoxide ปกติมีปริมาณน้อยมากจนแทบไม่มีเลย แต่ปริมาณสามารถเพิ่มมากขึ้นได้ในกรณีที่ได้รับสาร Carbon Monoxide


4. Methemoglobin(เมธฮีโมโกลบิน) เป็นฮีโมโกลบินที่ภายในโมเลกุลมีธาตุเหล็กที่มีประจุเป็น 3+ แทนที่จะเป็น 2+ ทำให้ไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้


หลักการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Finger Pulse Oximeter) เนื่องจากเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) นั้นเป็นเครื่องตรวจวัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับออกซิเจนในเลือดแดง สามารถวัดได้ทั้งหมด 2 ส่วนหลัก ๆ คือ


1.การตรวจสอบและการแยกฮีโมโกลบินที่จับ-ไม่จับกับออกซิเจน

2.การตรวจสอบและจับออกซีฮีโมโกลบินที่อยู่ในเส้นเลือดแดง


หลักการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Finger Pulse Oximeter)


การแยกฮีโมโกลบินที่จับและไม่จับกับออกซิเจนนั้นจะใช้แสงในการแยก ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า “Light Absorption” โดยเป็นกระบวนการที่นำแสงฉายลงไปที่อุปกรณ์ เพื่อให้ตัวฮีโมโกลบินสามารถจับและดูดแสงไป ทำให้สามารถคัดแยกได้ว่าฮีโมโกลบินที่ตรวจจับได้นั้นเป็นชนิดที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งที่ต้องการส่วนใหญ่มักจะเป็น “Oxyhemoglobin” หรือ ฮีโมโกลบินที่จับตัวอยู่ในออกซิเจนนั่นเอง


โดยแสงที่จะใช้ในการคัดแยกชนิดของฮีโมโกลบินนั้นจะเป็นแสงชนิดที่แตกต่างกัน ต้องเป็นแสงเฉพาะประเภทที่ฮีโมโกลบินแต่ละชนิดสามารถดูดซับได้เท่านั้น


ถ้าสังเกตที่เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ตัวเครื่องจะมีด้านบนและด้านล่าง เวลาต้องการจะใช้ก็นำมาหนีบที่ปลายนิ้วทั้งด้านบนและล่าง ซึ่งด้านบนนั้นมีช่องสำหรับการปล่อยแสงเพื่อแยกประเภทฮีโมโกลบิน นอกจากนี้แล้วลำแสงก็ยังส่องทะลุลงไปถึงด้านล่างของเครื่องมือได้อีกด้วย ส่วนฮีโมโกลบินประเภทที่ไม่สามารถดูดซับแสงประเภทนั้นได้ ก็จะทะลุแสงไปนั่นเอง


เมื่อได้ค่าออกซิเจนทั้งหมดแล้ว ก็จะนำมาคำนวณเพื่อหาค่าความเข้มข้นของออกซิเจนภายในเลือด โดยใช้ออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) เป็นฮีโมโกลบินที่จับตัวในออกซิเจน และดีออกซีฮีโมโกลบิน (Deoxyhemoglobin) เป็นฮีโมโกลบินที่ปล่อยหรือไม่ได้จับตัวกับออกซิเจนนั่นเอง


สูตรคำนวณ = O2 Saturation from Fingertip Pulse Oximeter (SpO2)

= Oxyhemoglobin/(Oxyhemoglobin + Deoxyhemoglobin) x 100


เมื่อได้ทราบประเภทของออกซิเจน ค่าออกซิเจน และค่าความเข้มข้นของออกซิเจนเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลตรงนี้จะปรากฏเป็นค่าออกซิเจนในเลือด ซึ่งบนหน้าจอแสดงผลของเครื่องวัดนั้นก็จะแสดงผลเป็นจำนวนออกซิเจนทั้งหมดที่อยู่ภายในเลือดของผู้ป่วย ทำให้ทางบุคลากรทางการแพทย์สามารถทราบผลการตรวจวัดได้ทันที แถมยังมีความแม่นยำสูงอีกด้วย


ค่าออกซิเจนเท่าไรถึงเรียกว่าปกติ...

นอกจากการวัดออกซิเจนแล้ว เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วยังสามารถวัดค่าชีพจรได้ ซึ่งจะมีการทำงานแบบเรียลไทม์ค่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน ค่าออกซิเจนในเลือด (SpO2) : ต่ำกว่า 95% หมายถึง ค่าออกซิเจนในเลือดต่ำกว่ามาตรฐานหรือผิดปกติ ค่าชีพจร (Pulse Rate) : น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที หรือมากกว่า 100 ครั้ง/นาที หมายถึงค่าชีพจรผิดปกติ


เครื่องนี้ช่วยได้อย่างไรหากติดเชื้อโควิด

เครื่องวัดออกซิเจนในเลือดจะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยบอกค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำลงหรือยังซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกว่าเรามีอาการหนักขึ้นหรือไม่

168 views0 comments
bottom of page