top of page

ปัญหาใต้วงแขน ... 3ปัญหาหลักคอยกวนใจ

Updated: Dec 26, 2022

รักแร้ดำคล้ำ ตุ่มหนังไก่ กลิ่นไม่พึงประสงค์ 3 ปัญหาหลักคอยกวนใจ ทำให้สูญเสียความมั่นใจ ไม่กล้าที่จะใส่เสื้อกล้ามหรือจะเสื้อแขนกุด แต่วันนี้เรามีทางออกที่ดีมานำเสนอ

อินโนเวชั่นบิวตี้ จะพาคุณได้รู้ถึงสาเหตุ และวิธีดูแลรักษา เพื่อให้ใต้วงแขนเนียน ใส ดูไบรท์สดใส มั่นใจได้ตลอดวัน



1.วงแขนดำคล้ำ

สาเหตุ

- เกิดจากน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน

คนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานจะมีไขมันส่วนเกินสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ เช่น บริเวณข้อพับ โคนแขน ทำให้ผิวบริเวณใต้วงแขนเบียดและเสียดสีกันเป็นประจำ จนทำให้เกิดรอยด้าน ดำ คล้ำได้


- เกิดจากการแพ้ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน

ทั้งโรลออน สเปรย์ เซรั่ม มาร์ค เมื่อใช้แล้วเกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองต่อผิวใต้วงแขน เกิดรอยแดง ผื่น ตุ่มคัน ซึ่งส่งผลให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ ทำให้ผิวใต้วงแขนดำคล้ำขึ้นได้


- เกิดจากการกำจัดขน

ไม่ว่าจะเป็นการโกน การแว็กซ์ หรือถอนขน ทั้งแวกซ์ร้อน-เย็น ล้วนส่งผลทำให้เกิดการกระตุ้นทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง ได้รับบาดเจ็บซ้ำๆ อักเสบ ผิวตอบสนองด้วยการผลิตเม็ดสีมากขึ้น

จนส่งผลให้ผิวใต้วงแขนดำคล้ำขึ้น นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดผิวหนังอักเสบ เป็นสิว เป็นขนคุด ไปจนถึงเกิดตุ่มหนังไก่จากแรงในการดึงถอนขน นั้นทำให้รักแร้ไม่เรียบเนียนได้


- เกิดจากการรักษาความสะอาดไม่เพียงพอ

การขาดการดูแลความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ขัดเซลล์ผิวเก่าออกจากผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองจนผิวใต้วงแขนคล้ำเสียได้เช่นกัน


- ระบบฮอร์โมน

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิด ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปจะส่งผลให้รักแร้ดำคล้ำขึ้นกว่าเดิม


- กรรมพันธุ์

โดยสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อรักแร้ขาวเนียนเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นกับแต่ละคนอย่างแตกต่างกันไปหรือบางคนก็เจอปัญหาจากหลากหลายสาเหตุรวมกัน ดังนั้น ก่อนที่จะไปเริ่มทำให้รักแร้ขาวเนียนได้นั้น ต้องเริ่มจากหยุดสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาด้วย


การรักษา การป้องกัน

- หลีกเลี่ยงการถอน แว็กซ์ บ่อยเกินไป เพื่อลดการรบกวนผิวใต้วงแขนมากเกิน เพื่อไม่ให้ขนรักแร้ถูกดึงจนเกิดปัญหาผิวหนังอักเสบ ขนขุด และตุ่มหนังไก่


- หยุดการใช้ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองผิว พยายามหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมและแอลกอฮอล์


- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดไขมันสะสมตามจุดต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงบริเวณเนื้อโคนแขน เพื่อช่วยป้องกันการเสียดสีใต้วงแขนที่ก่อให้เกิดรอยดำ


- ดูแลความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อร่างกายสะอาด ลดสาเหตุของปัญหาจากแบคทีเรียหรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ


- ไม่ขัดหรือถูรักแร้แรงเกินไป และไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดรักแร้แน่นจนเกินไป


- ดูแลผิวบริเวณรักแร้ด้วยการสครับหรือมาส์กรักแร้อย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง


- ใช้เมโส Mesotherapy โดยใช้เข็มขนาดเล็กส่งผ่านตัวยา หรือ สารจำพวกวิตามิน สารแอนติออกซิเดนท์ หรือสารบำรุงผิวตัวอื่น ๆ เข้าไปยังผิวหนังชั้นกลางโดยตรงเพื่อการกระตุ้นการสร้างคลอลาเจนให้ใต้วงแขนกระชับ พร้อมปรับสภาพผิวรักแร้หมองคล้ำให้ดูขาวสว่างกระจ่างใสขึ้น


- ใช้เครื่องเลเซอร์ เลเซอร์ในกลุ่มที่จัดการกับเม็ดสี สามารถทำให้เม็ดสีจางออกได้ดี


2.ตุ่มหนังไก่

สาเหตุ

- การถอน การแว็กซ์ขนรักแร้ซ้ำ ๆ ความแรงของการถอน แว๊กซ์ ทำให้ผิวบริเวณรักแร้อักเสบ ก่อให้เกิดผิวหนังอักเสบ เป็นสิว เป็นขนคุด ไปจนถึงเกิดตุ่มหนังไก่จากแรงในการดึงถอนขน นั้นทำให้รักแร้ไม่เรียบเนียนได้


- ผลิตภัณฑ์สำหรับใต้วงแขนที่มีส่วนผสมของสารกันเสีย สารกันเหงื่อออก และน้ำหอม ซึ่งมีส่วนทำให้ผิวบริเวณรักแร้เกิดการอุดตัน


- เกิดจากฮอร์โมน การเกิดตุ้มฮอร์โมนพบได้บ่อยที่รักแร้ หรือบริเวณซอกพับโดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นจนถึงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ โดยจะสังเกตได้ว่าจะมีหลายๆ ตุ่มเนื้อแน่นแข็งเกิดตามรูขุมขน ตุ่มจะเป็นสีเนื้อหรือสีน้ำตาล


การรักษา การป้องกัน

เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงวิธีกำจัดขนซึ่งทำให้เกิดผิวหนังไก่และรอยหมองคล้ำใต้วงแขนได้ การป้องกันเบื้องต้นจึงเป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรละเลย ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการถอน แว็กซ์ หรือโกนขนรักแร้

2. เลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ไม่ใส่สารเคมีและน้ำหอม

3. การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ AHA BHA และไวท์เทนนิ่ง ทาใต้วงแขนเป็นประจำบาง ๆ ก่อนนอน ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเก่าหลุดลอก และบำรุงผิวให้รูขุมขนกระชับขึ้น แต่การใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เป็นประจำ ต้องระวังการระคายเคืองผิวด้วย

4. สครับผิวใต้วงแขนเบา ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

5. ใช้น้ำมันมะพร้าวทาบริเวณรักแร้ เพื่อลดการอักเสบของรูขุมขน

6. การกำจัดขนด้วยเลเซอร์อาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการกำจัดใต้วงแขนของผิวไก่


3. กลิ่นไม่พึงประสงค์

สาเหตุของการมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์

- แบคทีเรียประจำถิ่นบริเวณรักแร้ ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากความร้อนและความชื้นของอากาศ


- การสร้างเหงื่อจากต่อมเหงื่อชนิดอะโพครายน์ (Apocrine sweat glands) ในผู้ที่มีกลิ่นตัวอาจมีต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังชนิดนี้ขนาดใหญ่และมีจำนวนมาก ต่อมเหงื่อนี้ยังถูกกระตุ้นได้ด้วยฮอร์โมนเพศชาย Androgen เมื่อเหงื่อรวมกับแบคทีเรียประจำถิ่น จึงทำให้เกิดกลิ่นตัว


ปัจจัยกระตุ้นการเกิดกลิ่นตัว

- อาหารที่มีกลิ่นฉุน เมื่อกินในปริมาณมากก็สามารถทำให้รักแร้มีกลิ่นได้ โดยเฉพาะอาหารรสจัด นอกจากนี้อาหารที่มีกลิ่นฉุนมากๆ อย่างเครื่องเทศที่เป็นส่วนผสม เช่น กระเทียม หัวหอม ต้นหอม ข่า ตะไคร้ แกงกะหรี่ พริก พริกไทย ผลไม้ที่มีสารกำมะถัน เช่น ทุเรียน สะตอ ชะอม ฯลฯ อาหารเหล่านี้มีรสชาติเผ็ดร้อนและสามารถทำให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาเพิ่มขึ้นและทำให้เกิดกลิ่นตัวได้


- ความสะอาด ใต้วงแขนเป็นจุดอับที่สามารถกักเก็บเหงื่อและสามารถสะสมแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นตัวได้ การรักษาความสะอาดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ


- น้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน


- การได้รับยาบางชนิด


ที่ใต้รักแร้ของเรา ประกอบด้วยต่อมที่เกี่ยวกับการเกิดกลิ่นตัวอยู่ 2 ชนิดคือ

1. ต่อมเหงื่อ หรือ Eccrine Sweat Glands

เป็นต่อมที่มีอยู่ทั่วทุกแห่งของร่างกาย ต่อมเหงื่อชนิดนี้มีท่อขับถ่ายซึ่งเปิดออกที่ผิวหนังชั้นนอกสุดที่เรียกว่า รูเหงื่อ ต่อมนี้ทำหน้าที่สร้างเหงื่อแล้วขับถ่ายออกมาตลอดเวลา เพื่อช่วยระบายความร้อนให้ร่างกาย เมื่ออุณหภูมิภายนอกร่างกายสูงขึ้นหรือขณะออกกำลังกาย ปริมาณเหงื่อที่ขับถ่ายออกมาจะเพิ่มขึ้นจนสังเกตเห็นได้ เหงื่อที่ออกมาประกอบด้วยน้ำ เกลือโซเดียมคลอไรด์ ทำให้เหงื่อมีรสเค็ม และสารอินทรีย์พวกยูเรียอีกเล็กน้อย


2. ต่อมกลิ่น หรือ Apocrine Sweat Glands

เป็นต่อมที่พบได้เฉพาะบางแห่ง ได้แก่ รักแร้ รอบหัวนม ขาหนีบ ทวารหนัก หัวหน่าว ก้น แผ่นหลัง ผลิตสารที่มีลักษณะเหนียวใส มีส่วนผสมของไขมันอยู่มาก สารนี้ถูกแบคทีเรียเปลี่ยนเป็นแอมโมเนีย ซึ่งทำให้มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์


การรักษาและป้องกันการมีกลิ่นตัว

1. การรักษาสุขอนามัยให้สะอาด ช่วยลดปริมาณสารก่อกลิ่นที่หลั่งจากต่อมกลิ่นได้


2. หลีกเลี่ยงภาวะที่ร้อนจัด ภาวะอับชื้น เพราะเหงื่อที่เปียก ทำให้เกิดกลิ่นอับและทำให้แบคทีเรียทำงานมากขึ้น


3. การใช้สารระงับกลิ่น (deodorants) เช่น สารส้ม , ไตรโคลซาน ช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย


4. การใช้สารระงับเหงื่อ (antiperspirants) เช่น อลูมิเนียมคลอโรไฮเดรต (aluminium chlorohydrate) ทำให้ผิวหนังแห้งและแบคทีเรียที่ก่อกลิ่นตัวเติบโตไม่ดี จึงสามารถช่วยลดกลิ่นตัวได้


5. กำจัดขนบริเวณรักแร้เพื่อป้องกันแบคทีเรียและการสะสมของสารก่อกลิ่น


6. การใช้โบท๊อกซ์ โบท๊อกซ์ สารพิษที่ปลอดภัย ตัวเดียวกับที่ใช้ลดขนาดกล้ามเนื้อนั้นแท้จริงแล้วสามารถนำมาใช้แก้ปัญหากลิ่นและเหงื่อออกเยอะบริเวณช่วงรักแร้ได้

โดยตัวยา โบท๊อกซ์เข้าไปยับยั้งการทำงานชั่วคราวของประสาทที่กระตุ้นต่อมเหงื่อและเมื่อเหงื่อน้อยลง ปัญหากลิ่นก็จะน้อยลง รักแร้แห้ง จึงช่วยเพิ่มความมั่นใจได้ ผลคงอยู่ระยะเวลาประมาณ 4 - 6 เดือน


7. การผ่าตัดเอาต่อมกลิ่นออก เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดี แต่อาจมีผลข้างเคียงหลังการรักษา เช่น มีแผลเป็น การติดเชื้อ

bottom of page