top of page

👸...ปักเข็มสวย....ตำเเหน่งไหนดี ❓

Updated: Dec 26, 2022

💉หิวเข็ม...คำพูดติดปาก 👩✨

ของหลายๆคนที่เสพติดการเข้าคลินิก

แต่รู้หรือไม่ การฉีดนั้นมีหลายวิธี

และ มีเทคนิคที่แตกต่างกัน ❓

จะมีวิธีไหนบ้าง และแต่ละจุดต่างกันอย่างไร

ไปหาคำตอบกับ ✨อินโนเวชั่นบิวตี้✨ กันค่ะ


เมื่อพูดถึงการฉีดยาเข้าสู่ร่างกาย เราควรรู้อะไรบ้าง อย่างแรกเลยก็คือประเภทของยา ตำแหน่งการฉีด หรือ ระดับชั้นผิวใด ซึ่งการฉีดก็จะมีเทคนิคที่หลากหลายแตกต่างกันแต่จะมีวิธีการฉีด หรือข้อดีและข้อเสียอย่างไรเรามาทำความเข้าใจไปพร้อมกันค่ะ


เทคนิคที่ 1 Intra Epidermis Technique

ชั้น: Intra Epidermis

วิธีการ: แทงเข็มทำมุมประมาณ 5-15 องศากับผิวหนัง ความลึกน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร

นิยมใช้ฉีด: เมโสหน้าใสแบบสะกิด

ข้อดี: ให้วิตามินซึมซาบเข้าสู่ผิวได้เร็ว และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้กับชั้นผิว

ข้อเสีย: ทำให้เกิดรอยแดงบนใบหน้า หากไม่ฉีดโดยแพทย์อาจเกิดการอักเสบและติดเชื้อได้


เทคนิคที่ 2 Papule Technique

ชั้น: Superficial Intra Dermis

วิธีการ: แทงเข็มทำมุมประมาณ 10-15 องศากับผิวหนัง ความลึก 1-2 มิลลิเมตร

นิยมใช้ฉีด: เมโสหน้าใส, ทดสอบโรคภูมิแพ้(Allergic disease), ยาต้านพิษบาดทะยัก,

การทดสอบภูมิต้านทานวัณโรค เป็นต้น

ข้อดี: ผลของเมโสหรือวิตามินอยู่ในชั้นผิวได้นานกว่าแบบสะกิดและซึมซาบเข้าสู่ผิวได้เร็ว

สามารถ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้กับชั้นผิว

ข้อเสีย: อาจเกิดการอักเสบและติดเชื้อขึ้นหากไม่ฉีดโดยแพทย์


เทคนิคที่ 3 Nappage Technique

ชั้น: Deep Dermis

วิธีการ: ความลึก 2-4 มิลลิเมตร

นิยมใช้ฉีด: เมโสหน้าใส, ฟิลเลอร์ชนิดเนื้ออ่อน, ทดสอบโรคภูมิแพ้ (Allergic disease),

ยาต้านพิษบาดทะยัก, การทดสอบภูมิต้านทานวัณโรค เป็นต้น

ข้อดี: ผลของวิตามินเมโส หรือฟิลเลอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและอยู่ในชั้นผิวได้นาน ซึมซาบเข้าสู่ผิวได้เร็ว หลังการฉีดไม่เป็นก้อนใต้ผิว กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้กับชั้นผิว

ข้อเสีย: หากไม่ฉีดโดยแพทย์อาจเกิดการอักเสบและติดเชื้อขึ้นได้


เทคนิคที่ 4 Subcutaneous Techniaue ( Deep Intra Dermal Technique )

ชั้น: Deep Dermis

วิธีการ: แทงเข็มทำมุมประมาณ 45 องศากับผิวหนัง ความลึก 2-4 มิลลิเมตร

นิยมใช้ฉีด: เมโสแฟต, ให้อินซูลินสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน, วัคซีนป้องกันคางทูม-อีสุกอีใส,

วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก เป็นต้น

ข้อดี: ยาดูดซึมและออกฤทธิ์ในชั้นไขมันได้โดยตรง

ข้อเสีย: เสี่ยงที่ปลายเข็มจะไปโดนหลอดเลือด หากไม่ฉีดโดยแพทย์อาจเกิดการอักเสบ

และติดเชื้อขึ้นได้


เทคนิคที่ 5 Intravenous Technique (IV)

ชั้น: Intravenous

วิธีการ: ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำโดยตรงเเล้วแทงเข็มทำมุมประมาณ 25 องศา โดยหงายปลายตัดเข็มขึ้น เมื่อเลือดเข้ามาในกระบอกฉีดยาให้ลดมุมการแทงเล็กลง ให้เข็มขนานกับผิวหนัง ดันเข็มเข้าไปในหลอดเลือดดำประมาณ 2/3 ของความยาวเข็ม ถ้ายังมีเลือดไหลเข้ามาในกระบอกฉีดยา แสดงว่าเข็มยังอยู่ในหลอดเลือดดำ

นิยมใช้ฉีด: วิตามินบำรุงผิว, กลุ่มยาฆ่าเชื้อ, กลุ่มยาแก้ปวดฤทธิ์รุนแรง, ยาเคมีบำบัด เป็นต้น

ข้อดี: เพื่อให้ยาดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้โดยตรง และออกฤทธิ์ได้ทันที

ข้อเสีย: ห้ามให้ยาทางหลอดเลือดดำร่วมกับการให้เลือด ผลิตภัณฑ์ของเลือด สารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดเด็ดขาดเพราะอาจเกิดการอักเสบและติดเชื้อได้



เทคนิคที่ 6 Intramuscular Technique (IM)

ชั้น: Intramuscular

วิธีการ: แทงเข็มทำมุมประมาณ 90 องศากับผิวหนัง ความลึก 0.5-1 เซนติเมตร

นิยมใช้ฉีด: วัคซีน, โบท็อก, กลุ่มยาฆ่าเชื้อ, กลุ่มยาแก้ปวด, วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่, วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเป็นต้น

ข้อดี: การฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ ยาจะถูกดูดซึมเร็วกว่าการฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง เนื่องจากชั้นกล้ามเนื้อมีหลอดเลือดหล่อเลี้ยงมากกว่าชั้นใต้ผิวหนัง

ข้อเสีย: เนื่องจากชั้นกล้ามเนื้อมีหลอดเลือดหล่อเลี้ยงมากกว่าชั้นใต้ผิวหนัง ทำให้มีความเสี่ยงที่ปลายเข็มจะไปโดนหลอดเลือด


bottom of page