top of page

จริงหรือหลอก! บอกให้ชัดเรื่อง " ร้อยไหม "

Updated: Oct 27, 2023

รวม Q & A ไขข้อข้องใจกับข้อสงสัยยอดฮิต


จริงหรือหลอก?? บอกให้ชัดเรื่อง " ร้อยไหม "

ช่วงที่ผ่านมา การร้อยไหมถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่นิยมกันมากในวงการความงาม แต่ก็ต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แล้วก็มีคำถามอีกมากมายตามมาอย่างแน่นอน คนส่วนมากมักจะมีข้อสงสัยและมีคำถามหลายๆ ข้อเกี่ยวกับการร้อยไหม ซึ่งวันนี้เราจึงรวบรวมคำถามยอดฮิตที่เกี่ยวกับการร้อยไหมมาฝากกัน

 

เลือกหัวข้อที่สนใจอ่านตามด้านล่าง

 

คำถามยอดฮิต ร้อยไหมเกิดพังพืดใต้ผิวหนังจริงหรอ?

Q : การร้อยไหม ทำให้เกิดพังผืดใต้ผิวหนัง ได้จริงหรอ?

A : จริง! ที่จริงพังผืดใต้ผิวหนังก็คือแผลเป็นใต้ผิวหนัง ซึ่งมันเกิดจากการสร้างคอลลาเจนของร่างกายใต้ผิวหนัง การร้อยไหมถือเป็นการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง หรือจะเรียกว่าเป็นการสร้างพังผืดใต้ผิวหนังในตำแหน่งที่เหมาะสมนั้นเอง ทำให้ผิวด้านนอกดูยก ตึง กระชับ และเปล่งปลั่ง เพราะคอลลาเจนถูกสร้างขึ้นมามากขึ้น แต่ถ้าในกรณีที่คุณหมอที่ร้อย ไม่มีประสบการณ์หรือทำผิดวิธี เช่นร้อยไหมเข้าไปตื้นเกินไป ก็จะทำให้เกิดพังผืดที่ไม่พึงประสงค์ในบริเวณผิวหนังชั้นบนขึ้นได้ ทำให้มองเห็นเป็นรอนๆ บนผิวด้านนอกเหมือนกับแผลเป็นได้


Q : การร้อยไหมเคลือบสเต็มเซลล์ให้ผลดีกว่าไหมทั่วไปจริงหรอ?

A : ไม่จริง! หลักการทำงานของไหมทุกชนิด มีพื้นฐานเหมือนกันคือ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ผิว ร่างกายก็จะรับรู้และสร้างคอลลาเจนใหม่ขึ้นในบริเวณนั้นๆ จึงทำให้ผิวยกขึ้น ตึงขึ้น ดูเปล่งปลั่งขึ้น ดังนั้น ไหมทุกชนิด ทำให้ผิวดูเปล่งปลั่ง ตึงขึ้นอยู่แล้ว สำหรับไหมสเต็มเซลล์คือการนำไหม ไปจุ่มในสเต็มเซลล์ ทำให้เป็นเส้นไหมที่มีสเต็มเซลล์เคลือบอยู่ หวังผลว่าจะช่วยให้เกิดการสร้างคอลลาเจนได้ดีขึ้น แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ โอกาสในการติดเชื้อเมื่อมีการนำสารอื่นๆ ไปเคลือบที่ไหม อาจทำให้เกิดการอักเสบของผิว ในบริเวณที่ร้อยไหมขึ้นได้อีกด้วย

 

คำถามน่าสงสัย ร้อยไหมสามารถรักษาฝ้าหายได้จริงหรอ?

Q : การร้อยไหมสามารถรักษาฝ้าบนหน้าได้จริงหรอ?

A : ไม่จริง! การร้อยไหมไม่สามารถรักษาฝ้าได้ เพราะการรักษาฝ้า คือการทำให้เม็ดสีที่ผิดปกติใต้ผิวหนังจางลง ซึ่งการที่เม็ดสีจะจางลงได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ฮอร์โมน หรือการหยุดทำงานของเมลาโนไชต์ เพื่อหยุดการสร้างเม็ดสีเมลานิน หรือการหลบแดดก็ทำให้สิ่งกระตุ้นการทำงานของเซลเมลาโนไชต์ลดลงเช่นกัน การร้อยไหมอาจจะทำให้ผิวสร้างคอลลาเจนมากขึ้น เลยส่งผลให้ผิวดูใสขึ้น ทำให้เหมือนฝ้าจางลง แต่ความจริงแล้วการร้อยไหม ไม่มีส่วนเกี่ยวกับการรักษาฝ้าแต่อย่างใด แต่ปัจจุบันมีไหมที่มี Lactic acid เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเร่งการสร้างเซลล์ผิวใหม่ และพวกสารสำคัญอย่างวิตามินซี ซึ่งสามารถเป็นตัวช่วยให้ฝ้าจางลงได้เร็วยิ่งขึ้นได้


Q : มีอาการบวมช้ำหลังการร้อยไหมจริงหรอ?

A : จริง! อาการบวมช้ำ หลังการร้อยไหมนั้น อาจเกิดมากเกิดน้อย หรือไม่เกิดเลย ทั้งนี้ขึ้นกับผิวของคนไข้ บางคนช้ำง่าย ช้ำยาก และยังขึ้นอยู่กับเทคนิคในการร้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของไหมที่ใช้ และปริมาณไหมที่ใช้อีกด้วย ในกรณีถ้าการร้อยมีเทคนิคที่ดี ใช้ไหมจำนวนมาก ก็อาจไม่มีอาการบวมช้ำเกิดขึ้นเลย แต่ถ้าเทคนิคในการร้อยไม่ดี ก็อาจทำให้มีอาการบวมช้ำเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์ด้วย แต่ถ้าเรารู้ว่าเราเป็นคนช้ำง่าย บวมง่าย ก่อนการร้อย 1 สัปดาห์ ควรงดพวกอาหารเสริม หรือกลุ่ม อีพนิ่งพิมโรส กลุ่ม Vit C E เพื่อลดการช้ำได้

 

คำถามข้องใจ การร้อยไหมเหมาะกับทุกคนจริงหรอ?

Q : การร้อยไหมเหมาะกับทุกคน จริงหรอ?

A : ไม่จริง! การร้อยไหมไม่ใช่ว่าทุกเคสที่ทำจะได้ผลที่น่าพึงพอใจไปในทุกๆเคส เพราะการร้อยไหมเหมาะกับคนที่มีริ้วรอย และการหย่อนคล้อยไม่มาก เพราะหลักการทำงานของการร้อยไหม คือการทำให้ผิวสร้างคอลลาเจนขึ้นมาพันรอบๆ เส้นไหม แล้วก็ช่วยผยุงผิว ให้กระชับขึ้น เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นคนที่อายุเยอะมากๆ ที่ผิวไม่มีความแข็งแรงเพียงพอ ในการสร้างคอลลาเจนขึ้นมารอบๆ ตัวไหมได้ ก็จะไม่เห็นผลเท่าที่ควร หรือแม้แต่คนที่มีไขมันที่หน้าแน่นๆ นั้นก็ควรจะลดไขมันที่ใบหน้าก่อนที่จะมาทำการร้อยไหม เพื่อผลลัพธ์ที่ดีหลังการร้อย เพราะฉะนั้นควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเมิณก่อนเลือกที่จะทำหัตถการร้อยไหม


Q : หลังร้อยไหม ไม่สามารถเข้าเครื่อง X- ray และ MRI ได้จริงหรอ?

A : ไม่จริง! เข้าได้ปกติ ไม่มีอันตราย สิ่งที่หลายคนกังวลจากเรื่องนี้อาจเป็นเพราะสมัยก่อนมีการใช้วัสดุในการร้อยไหมเป็น ไหมทองคำที่เป็นโลหะซึ่งเป็นไหมไม่ละลาย จึงอาจมีปัญหาเรื่องการเข้าเครื่อง X-ray และ MRI แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านการผลิตเส้นไหม ใช้วัตถุดิบที่ไม่อันตราย ไม่มีโลหะผสม ซึ่งไหมละลายในปัจจุบันใช้วัสดุเกรดเดียวกับทางแพทย์ที่ใช้ในการเย็บแผล ซึ่งถือว่าปลอดภัยสลายตัวหมด ไม่ตกค้าง

 

bottom of page