top of page

ปัญหากวนใจของ “หลุมสิว” รักษาอย่างไรให้อยู่หมัด

Updated: Sep 22, 2023


หลุมสิว

สารบัญ


 

1) หลุมสิว (Atrophic Scars) เกิดจาก ?

ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาสิวที่มีการอักเสบ รวมถึงสิวอุดตัน รอยแผลเป็นจากการอักเสบของสิวหลังสิวหาย ส่วนใหญ่มักจะเกิดจาก สิวอักเสบ” ที่ลึกลงไปถึงผิวชั้นใน เช่น สิวหนอง สิวหัวช้าง และแผลไม่สามารถสมานได้เต็มที่ เนื่องจากพังผืดที่ดึงรั้งทำให้ผิวหนังยุบตัวลงไปตามกระบวนการรักษาของร่างกาย ทำให้เกิดเป็นรอยบุ๋ม ผิวไม่เรียบเนียน และเป็นหลุมลึกบนใบหน้า โดยปกติหลังจากสิวหายแล้วจะมีกระบวนการซ่อมแซมผิวหนังโดยไม่ทำให้เกิดรอยแผลเป็น ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน หลังจากสิวหาย จะมีการสร้างเซลล์ผิวหนังและคอลลาเจนล้อมรอบบริเวณที่มีการอักเสบ ซึ่งถ้ากระบวนการนี้เกิดได้อย่างสมบูรณ์ก็จะไม่เกิดหลุมสิว


 

สิวที่สามารถกลายเป็นหลุมสิวมีลักษณะ ดังนี้

สิวอักเสบรุนแรง (Pustule) หรือสิวหัวหนอง อักเสบเรื้อรัง


สิวอักเสบ

สิวหัวช้างเม็ดใหญ่ (Cyst) เป็นสิวขนาดใหญ่ที่มีหนองปนเลือดอยู่ภายในหัวสิว ใช้เวลาในการรักษานาน


สิวหัวช้างเม็ดใหญ่


สิวติดเชื้อแบคทีเรีย

 

3) ระดับความรุนแรงของหลุมสิว

Rolling scar (ระดับทั่วไป)

มีลักษณะเป็นหลุมสิวแบบตื้นๆ เป็นแอ่งเว้า กินพื้นที่ส่วนบนของผิวเล็กน้อย มักจะเกิดจากการแกะเกาสิวที่อยู่ในระดับที่ไม่ลึกมาก และทำการรักษาได้ง่ายที่สุด

  • เป็นแอ่งโค้งตื้นที่มีปากกว้างมากกว่า 4-5 มิลลิเมตร

  • ผู้ที่เป็นหลุมสิวชนิดนี้มีประมาณ 15-25%

  • เป็นหลุมที่มีความรุนแรงน้อยสุด รักษาหายได้


หลุมสิวตื้น

Box scar (ระดับรุนแรงปานกลาง)

มีลักษณะเป็นบ่อ เป็นรอยหลุมที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 3-5 มิลลิเมตรมีขอบเขตกว้างและขอบชัดเจน มีรูปร่างคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม ฐานของหลุมจะแข็งตึง เกิดจากการมีพังผืด แต่จะมีความตื้นชั้นผิวเท่านั้น ไม่ได้กินไปจนถึงชั้นรูขุมขน หลุมสิวระดับนี้หลังการรักษารอยหลุมแล้ว อาจจะเหลือร่องรอยจุดด่างดำได้

  • ลักษณะเหลี่ยมออกกลมรี ปากหลุมกว้าง แต่ก้นหลุมสิวตื้น

  • ผู้ที่เป็นหลุมสิวชนิดนี้มีประมาณ 20-30%

  • มักพบบริเวณแก้ม ขมับ


หลุมสิวระดับปานกลาง

มีความลึกถึงรูขุมขน รอยหลุมแคบแต่ลึก เกิดจากการกดหรือบีบสิวอุดตัน มีการทำลายลึกลงไปถึงชั้นผิวหนังแท้ ทำให้คอลลาเจนหายไปด้วย หลุมสิวชนิดนี้รักษายากและต้องใช้เวลานาน

  • เป็นหลุมสิวที่มีความรุนแรงที่สุดและพบมากที่สุด

  • ผู้ที่เป็นหลุมสิวชนิดนี้มีถึง 60-70%

  • รักษาค่อนข้างยาก

หลุมสิวระดับรุนแรง

 

คือแผลเป็นหลุมลึกที่เกิดจากสิวเม็ดใหญ่ที่อักเสบ เช่น สิวอุดตัน หรือสิวหิวช้าง ที่เกิดขึ้นบนใบหน้าเป็นเวลานานและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ทำให้เชื้อแบคทีเรียลุกลามใต้ชั้นผิวเกิดเป็นโพรง ร่างกายก็จะเกิดกระบวนการรักษาตัวเองโดยสร้างพังผืดที่ดึงรั้งให้ผิวหนังให้ยุบลงไป เกิดเป็นหลุมสิว อีกทั้งการรักษาหลุมสิวอย่างผิดวิธีจะทำให้เกิดแผลเป็น คอลลาเจนภายในผิวเสียหาย จะทำให้อาการของหลุมสิวนั้นแย่ลงกว่าเดิมได้

รูขุมขน คือ ทางเปิดของต่อมไขมันบนผิว เป็นทางเดินของน้ำมันที่ผลิตจากต่อมไขมันเพื่อมาหล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวช่วงวัยเยาว์ต่อมไขมันและรูขุมขนจะมีขนาดเล็ก ผิวหนังจึงเรียบเนียนและมองไม่เห็นรูขุมขน แต่พอย่างเข้าวัยรุ่น ฮอร์โมนเพศจะออกมากระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตไขมันออกมามากขึ้น ถ้ารูเปิดของต่อมไขมันกว้างพอดี ไขมันจะไม่อุดตัน และไม่เกิดสิวเพราะไขมันผ่านได้สะดวก แต่ถ้ารูเปิดของต่อมไขมันเล็กก็จะเกิดสิวอุดตัน จนทำให้มีสิวอักเสบตามมาได้

เลเซอร์หลุมสิว (Laser) โดยเลเซอร์ที่นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาหลุมสิว มีทั้งชนิดลอกผิวและไม่ลอกผิว โดยแพทย์จะแนะนำชนิดเลเซอร์ต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะหลุมสิวในแต่ละเคส โดยชนิดของเลเซอร์ที่นิยมใช้ได้แก่ Fractional Co2 Laser, Fraxel, Fine Scan, Fractional, Pico Laser, e-matrix เป็นต้น ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน สร้างเซลล์ใหม่ ผลัดเซลล์ผิวเก่า ทำให้ผิวชั้นบนเรียบเนียนขึ้น ส่งผลให้หลุมสิวตื้นขึ้น และลดปัญหารูขุมขนกว้างด้ โดยทั่วไปจะต้องทำ 4-6 ครั้ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี โดยเว้นระยะห่างในการรักษาประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้ชั้นผิวมีระยะเวลาการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินใหม่มาทดแทน


ผลข้างเคียง คือ ผิวแดง ตกสะเก็ด ผิวแห้ง ลอก ต้องรอการพักฟื้น

การดูแลตนเองหลังการรักษา

  • สตรีมีครรภ์หรือกำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร

  • ผู้ที่กำลังเป็นโรคผิวหนังอักเสบรุนแรง หรือเป็นสิวอักเสบ หรือมีการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง

  • ผู้ที่กำลังรับประทานยารักษาโรคที่ก่อให้เกิดอาการไวต่อแสง

  • ผู้ที่มีปรวัติอาการป่วยเกี่ยวกับอาการทางประสาทที่อาจก่อให้เกิดอาการชักขณะที่ทำการรักษาด้วยเลเซอร์

  • ผู้ที่เพิ่งผ่านการสัมผัสกับแสงแดดมาเป็นเวลานาน

  • ผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงรับประทานยารักษาสิว เช่น ยากลุ่ม Isotretinoin, Acnotin เป็นต้น


เลเซอร์หลุมสิว

การตัดพังผืดหลุมสิว (subcision) เป็นวิธีการใช้เข็มขนาดเล็กตัดเลาะพังผืดใต้ผิวหนัง เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาหลุมสิวมานาน และกระจายเต็มผิวหน้า เป็นหลุมสิวชนิด rolling scar และ box car หรือแผลเป็นที่มีขอบชัดและมีขนาดลึก หลังทำสามารถเห็นเปลี่ยนแปลงได้ทันทีระดับหนึ่ง แต่จะเห็นผลชัดเจนเมื่อทำติดต่อ 3-5 ครั้ง โดยเว้นระยะในการทำแต่ละครั้ง 3 – 6 สัปดาห์ เพื่อให้มีการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่เข้าไปในช่วงว่างที่ตัดพังผืดออกแล้ว จึงเติมเต็มให้รอยหลุมสิวดูตื้นขึ้น และทำให้หลุดสิวลดน้อยลงด้วยครับ


ผลข้างเคียง เช่น อาการบวม เขียว ช้ำ

การดูแลตนเองหลังการรักษา

  • หากคนไข้ดูแลรักษาแผลไม่ดี อาจเกิดการติดเชื้อ หรือมีรอยแผลเป็นได้

  • ในช่วงระหว่างการรักษาควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งสกปรก เพื่อป้องกันการเกิดการอุดตันของรูขุมขนจนเกิดเป็นสิวอักเสบเพิ่มขึ้น

  • งดการสัมผัส แคะ แกะ เกา บริเวณที่ทำการรักษาเพราะอาจเกิดการติดเชื้อ

  • งดการใช้เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์บำรุงที่มีส่วนผสมของน้ำมันเพราะอาจทำให้เกิดการอุดตันจนเกิดเป็นสิวได้

การตัดพังพืด

การฉีดฟิลเลอร์หลุมสิว คือ การใช้สารเติมเต็มประเภทไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic Acid) ฉีดเข้าไปบริเวณหลุมสิว เป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถทำร่วมกับวิธีการรักษาอื่นได้ เพื่อให้เห็นผลลัพธ์เร็ว และมีประสิทธิภาพเติมเต็มหลุมสิวให้ดูตื้นขึ้นแบบเร่งด่วน หลังทำเห็นการเปลี่ยนแปลงทันที 70 % ไม่ทิ้งรอยแผล ไม่ต้องเสียเวลาพักฟื้น ผิวอิ่มเต็ม กระชับ เรียบเนียนเป็นธรรมชาติ ช่วยกระตุ้นคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวอิ่มน้ำ ชุ่มชื้น


ผลข้างเคียง อาจมีรอยแดงจากเข็ม และหายเองได้ใน 2-3 วันและจะมีอาการบวมหลังฉีดซึ่งสามารถหายบวมเองได้ประมาณ 7-14 วัน ฟิลเลอร์จะเข้าที่และเห็นผลลัพธ์ชัดเจน

การดูแลตนเองหลังการรักษา

  • หลีกเลี่ยงการแตะ แกะ เกาบริเวณที่ฉีด

  • ควรอยู่ในที่อาการเย็น หลีกเลี่ยงความร้อนทุกชนิดและกิจกรรมที่ทำให้หน้าแดงอย่างน้อย 48 ชม.

  • งดเลเซอร์ร้อนที่ลงผิวชั้นลึกทุกชนิดอย่างน้อย 1 เดือน

  • งดแอลกอฮอล์และบุหรี่

  • ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการถอน แว๊กซ์ขน

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด

ฉีดฟิลเลอร์

การทำให้เซลล์ผิวหนังหลุดลอกออกจะช่วยให้รอบหลุมสิวตื้นขึ้น โดยใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดความเข็มข้นต่างกัน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้


1. ระดับชั้นหนังกำพร้า (Superficial chemical peeling) สารที่ใช้ เช่น Glycolic acid, lactic acid ,Salicylic acid, Trichloroacetic acid (TCA) ในระดับเปอร์เซ็นที่ต่างกัน หลังทำจะช่วยให้รอยแผลเป็นหลุมสิว ชนิด Icepick scars ตื้นๆ และ Rolling scars ดีขึ้น ช่วยลดรอยแดง รอยดำ ทำให้ผิวนุ่มและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น กระตุ้นให้เซลล์ผิวใหม่แบ่งตัวขึ้นมาบริเวณรอบหลุม พร้อมแก้ไขเซลล์ ผิวหนังชั้นนอกที่มีปัญหากลับคืนสู่สภาพปกติ รูขุมขนกระชับขึ้น

2. ระดับชั้นหนังแท้ชั้นตื้น (Intermediate chemical peeling) สารที่ใช้ เช่น Trichloroacetic acid (TCA)

3. ระดับชั้นหนังแท้ชั้นลึก (Deep chemical peeling) สารที่ใช้เช่น Phenol เป็นต้น


ผลข้างเคียง มีความเสี่ยงต่อการเกิดรอยดําและรอยแผลเป็นมากขึ้น

การดูแลตนเองหลังการรักษา

  • พยายามหลีกเลี่ยงการออกแดดจัด แนะนำให้ใช้ในเวลากลางคืน และทาครีมกันแดดทุกครั้ง

  • ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว

  • หลีกเลี่ยงกับทำกิจกรรม หรือหัตถการ


กรดลอกผิว


การรักษาหลุมสิวด้วยการใช้ยากลุ่มวิตามินเอ หรืออนุพันธุ์วิตามินเอ อย่าง Retin A , Retinoid , Retinol โดยตัวยามีคุณสมบัติในการช่วยปรับโครงสร้างผิวชั้นเคราตินให้เรียบเนียน ช่วยผลัดเซลล์ผิวให้หลุมสิวดูตื้นขึ้น สร้างเซลล์ผิวใหม่ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน รวมถึงลดการอุดตันของเคราตินในรูขุมขน ลดการอักเสบของสิว หลุมสิวประเภท Rolling scar เพราะเป็นหลุมสิวตื้นอยู่ในระดับที่ยังไม่ลึกมาก


ผลข้างเคียง เช่น ผิวแห้ง แสบ หน้าแดง ผิวลอก ทำให้ผิวระคายเคืองจึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์หรือเภสัช

การดูแลตนเองหลังการรักษา

  • เลี่ยงการโดนแสงแดด เพราะผิวจะไวต่อแสงแดดมากขึ้น

  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ห้ามใช้สารในกลุ่มนี้ เพราะจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

  • หลีกเลี่ยงกับทำกิจกรรม หรือหัตถการที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว

ยากลุ่มวิตามินเอ

การผ่าตัดหลุมสิว เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาหลุมสิว วิธีการคือจะใช้เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กประมาณ 2 - 3 มิลลิเมตร ตัดบริเวณป็นหลุมสิว จากนั้นแพทย์จะทำการดึงขอบ 2 ข้างที่เป็นผิวปกติมาเย็บติดกัน เหมาะกับการรักษาหลุมสิวชนิด Ice pix scar ที่เป็นมานาน และหลุมสิวชนิด Boxcar scar แต่ขนาดขอบไม่ควรกว้างเกิน 3 มิลลิเมตร เพราะหากหลุมสิวที่ใหญ่กว่านี้ หลังผ่าตัดอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นที่ไม่สวยงามตามมา ผ่าตัดหลุมสิวเป็นวิธีการสร้างแผลใหม่ ซึ่งเวลาที่ผิวเกิดการบาดเจ็บหรือมีแผลใหม่และทำลายพังผืดก็จะมีการกระตุ้นคอลลาเจนไปในตัว ทำให้เห็นผลการรักษาชัดเจน


ผลข้างเคียง หลังผ่าตัดคนไข้ต้องดูแลตัวเองอย่างดี และอีก 1 สัปดาห์ แพทย์จะนัดมาตัดไหม หลังจากตัดไหมแล้วแผลจะเป็นรอยเส้นตรงประมาณ 2 เดือน รอยจะเริ่มดีขึ้น

การดูแลตนเองหลังการรักษา

  • แนะนำว่ายังไม่ควรแต่งหน้าในบริเวณที่เพิ่งทำการตัดไหมออกอาจจะเกิดสิวอุดตันและอักเสบขึ้นมาได้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่ทำการผ่าตัดเพื่อลดการอักเสบ และการปนเปื้อน

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งสกปรกเพราะอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อได้

การผ่าตัด

 

5) ป้องกันการเกิด หลุมสิว ได้อย่างไร?

วิธีการที่ดีที่สุดคือระวังไม่ให้เกิดสิว หรือมีสิวแล้วต้องรีบรักษาเพื่อลดการอักเสบเรื้อรัง เพราะยิ่งสิวอักเสบเม็ดใหญ่ ทิ้งไว้นานก็ยิ่งมีโอกาสที่จะทิ้งหลุมสิวมากขึ้น ควรปฎิบัติดังนี้

  • เมื่อมีสิวอักเสบ ห้ามแกะ บีบ หรือขัดถูผิวหน้า เพราะการบีบเค้นทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและยิ่งเป็นการทำร้ายชั้นผิวที่ลึกลงไป ทำให้ร่างกายจะใช้เวลานานขึ้นในการสมานแผล เกิดพังผืดมากขึ้นกลายเป็นหลุมสิวถาวรรักษาได้ยาก

  • ในบุคคลที่เกิดสิวแล้วโดยเฉพาะสิวเม็ดใหญ่และมีการกระจายเป็นวงกว้าง แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาสิวให้หายเร็วที่สุด เพราะสิวลักษณะนี้มักทิ้งรอยหลุมสิวไว้

  • หลังจากหัวสิวหลุดแล้วแผลเริ่มหายห้ามแกะสะเก็ด เพราะการแกะสะเก็ดทำให้กระบวนการรักษาแผลต้องทำใหม่แผลจะหายช้าลง


 

6) ดูแลตนเองอย่างไร เมื่อมีหลุมสิว

เมื่อมีปัญหาหลุมสิว หากต้องการรักษาให้ได้ผลต้องอาศัยวิธีการทางการแพทย์ และการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนี้

  • ดูแลผิวให้ไม่เกิดอาการอักเสบซ้ำ ล้างหน้าให้สะอาด วันละ 2 ครั้ง ล้างเครื่องสำอางก่อนนอนทุกคืน

  • งดผลิตภัณฑ์ที่ผสมแอลกอฮอล์ น้ำหอม น้ำมัน ไวท์เทนนิ่ง หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางตกแต่งปกปิดหลุมสิว

  • ลดอาหารมันและอาหารหวาน

  • ไม่สัมผัสใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณแผล ไม่บีบ แคะ เกา ลูบ

  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง ควัน

วิธีการรักษาหลุมสิว

ข้อดี

ข้อเสีย

ประสิทธิภาพในการรักษา

(-/5)

คะแนนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

(-/5)

​1. เลเซอร์ (Laser)

-กำจัดรอยหลุมสิวได้ดีมาก

- ช่วยในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ชั้นผิว ทำให้ผิวดูเรียบเนียน

-การทำเลเซอร์จะใช้ความร้อนที่สูงมากอาจทำให้เกิดอาการแสบ ร้อน บวมแดง และระคายเคืองผิวได้

ดาว

กดไลก์

2. การตัดพังผืด (Subcision)

-สามารถกำจัดพังผิดหนาที่เกิดจากหลุมสิวขนาดใหญ่ได้

-การตัดพังผืดต้องใช้เข็มหัวปลายแหลมทิ่มลงไปใต้ผิวหนังซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลได้

ดาว


กดไลก์

3. การฉีดสารเติมเต็มหรือฉีดฟีลเลอร์ (Filler injection)

​-เป็นวิธีที่สามารถทำร่วมกับวิธีอื่นๆได้

- หลังทำสามารถเต็มเติมได้ทันที

- ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ชั้นผิว

​-อาจเกิดรอยแดงที่เกิดจากเข็ม และมีอาการบวมหลังการฉีดได้


ดาว


กดไลก์

​4. กรดลอกผิว (Chemical peeling)

-ช่วยให้ผิวชั้นบนเกิดการหลุดลอกออก (ผลัดผิว) จึงทำให้ผิวที่มีรอยหลุมสิวหลุดลอกออกไป เกิดชั้นผิวใหม่ขึ้นมาทดแทน

​-อาจก่อให้เกิดผิวแห้ง ลอก และเกิดการระคายเคืองได้

ดาว


กดไลก์

5. ใช้ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอหรือกรดวิตามินเอ

​-มีฤทธิ์ปรับโครงสร้างชั้นเคราตินให้เรียบเนียน เกิดการผลัดเซลล์ผิว และสร้างเซลล์ผิวใหม่

- ถ้าใช้ในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดการระคายเคือง บวม แดงได้

ดาว


กดไลก์

6. การผ่าตัด (Punch excision)

​-หลังการผ่าตัดจะเห็นผลชัดเจนว่ารอยหลุมสิวหายไป

- ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนเพราะเกิดบาดแผลจากการผ่าตัด

-สามารถทิ้งรอยแผลเย็บไว้

- ใช้เวลานานกว่าจะหาย ต้องคอยดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่ทำการผ่าตัดเพื่อป้องการติดเชื้อ


ดาว

กดไลก์


InnoGlossy

INNO GLOSSY อีกหนึ่งตัวช่วยให้ผิวคุณเรียบเนียน ที่ช่วยให้ผิวคุณ ฉ่ำวาว ใส นุ่มเนียน อิ่มฟู


PDRN : ลดเลือนริ้วรอย แห่งวัยใบหน้าเด้งกระชับ

MG+ : โปรตีนโมเลกุล ขนาดเล็ก เข้าซ่อมแซมและฟื้นฟูทุกปัญหาผิวที่เสื่อมสภาพ

Primula Veris Extract : สารสกัดจากดอกพริมูล่า ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ฟื้นฟูผิวที่แพ้ง่าย และ ลดการระคายเคือง

Hyaluronic Acid : เป็นโมเลกุลขนาดเล็ก เผยผิวฉ่ำวาววับจับแสง ชุ่มฉ่ำน้ำ สุขภาพผิวดี



สนใจสินค้าของ INNO GLOSSY สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ได้ที่ 061-5325495 หรือ กดเเอด Line ด้านล่างได้เลยค่ะ




333 views0 comments
bottom of page