top of page

อยากหุ่นดี ต้องรู้จัก ฮอร์โมนหิว ฮอร์โมนอิ่ม

Updated: Dec 26, 2022

ทำอะไรผิด ทำไมน้ำหนักไม่ลดซักที

คลุมอาหาร ออกกำลังกาย แต่ก็ไม่เป็นผล

หรือจะมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลกับน้ำหนัก !!!!



แม้จะพยายามควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย คุมอาหารก็แล้ว แต่ผลลัพธ์ของรูปร่างยังคงย้ำอยู่ที่เดิมแล้วทำไมสมองถึงสั่งให้รู้สึกหิวตลอดเวลาในช่วงที่ควบคุมอาหาร อาการพวกนี้อาจบ่งบอกได้ว่าร่างกายคุณกำลังดื้อต่อฮอร์โมนอิ่ม (Leptin) หรือฮอร์โมนหิว (Ghrelin) มีมากเกินไปเพราะการดูแลฮอร์โมนก็เหมือนการดูแลรูปร่างอีกทางหนึ่งเช่นกัน


“ฮอร์โมนเลปติน (Leptin)”


Leptin คือ ฮอร์โมนควบคุมความหิว ผลิตมาจากเซลล์ไขมัน (White adiposyte) โดยการส่งสัญญาณ ผ่านกระแสเลือดไปยังตัวรับสัญญาณที่สมองส่วนไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระบบเมแทบอลิซึม (Metabolism) ของร่างกาย เลปตินทำหน้าที่เป็นตัวบอกสมองว่าจะเก็บไขมันในปริมาณเท่าใดเมื่อมีการทานอาหารที่เพียงพอให้หยุดความอยากอาหารและกระตุ้นการเผาผลาญให้มากขึ้น เลปตินจะทำการบอกร่างกายว่าไม่รู้สึกหิวอีกต่อไป


“ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin)”


เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากเซลล์กระเพาะอาหาร ซึ่งในทันทีที่มีการหลั่งฮอร์โมนออกมาจะมีการส่งสัญญาณไปที่สมองเพื่อกระตุ้นความหิวและทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหาร

“ผลของภาวะดื้อฮอร์โมนเลปติน (Leptin)”


ร่างกายจะรู้สึกอยากอาหารตลอดเวลา กินเท่าไหร่ก็ไม่รู้สึกอิ่ม และส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลง จนกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของความอ้วนโดยทำให้มีไขมันสะสมมากในช่องท้อง(Visceral fat) มีหลายงานวิจัยในปัจจุบันที่ศึกษาถึงหน้าที่ของเลปตินที่สัมพันธ์กับการเป็นโรคอ้วนและความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคทางระบบประสาท เป็นต้น


“ผลของภาวะฮอร์โมนหิว (Ghrelin) เพิ่มมากเกินไป”


เกรลินหรือฮอร์โมนหิว เป็นฮอร์โมนที่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์กระเพาะอาหาร กระตุ้นความหิวทำให้รู้สึกอยากกินอาหาร ซึ่งเกรลินจะหลั่งมากเป็นพิเศษในขณะที่รู้สึกเครียดหรือวิตกกังวล ทำงานหนัก นอนดึกหรือพักผ่อนน้อย ส่งผลให้เรารู้สึกหิวง่ายและอยากกินอยู่ตลอดเวลา ทั้งที่พึ่งกินอิ่ม



ปรับสมดุล “ฮอร์โมนเลปติน(Leptin) และฮอร์โมนเกรลิน(Ghrelin)” ดังนี้

- เลิกความคิดกินไปก่อนแล้วค่อยไปออกกำลังกาย เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นและลงเป็น ประจำ เป็นการกระตุ้นให้เกิดภาวะดื้อฮอร์โมนอิ่ม - เลี่ยงการทานขนมหวานหรืออาหารน้ำตาลสูง - เลี่ยงอาหารจำพวกกลุ่ม High Fructose Corn Syrup เพราะอาหารจำพวกนี้ทำให้กินเท่าไรก็ไม่

รู้สึกอิ่ม พบมากใน น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำสลัด เป็นต้น - เลี่ยงรับประทานอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว - ไม่รับประทานอาหารมื้อใหญ่งดมื้อพิเศษหลังมื้อเย็น หยุดรับประทานอาหารก่อนที่เราจะรู้สึกอิ่ม เล็กน้อยจะช่วยให้รับประทานได้ในปริมาณที่พอเหมาะ ควรรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน - รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงสำหรับมื้อเช้า ควรได้รับโปรตีนอย่างน้อยปริมาณ 25 กรัมต่อวัน - ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต เลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ธัญพืชต่างๆ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท - รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ เว้นระยะระหว่างมื้ออาหาร 5-6 ชั่วโมง และงดขนมขบเคี้ยว - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดูน้อยลง


นวัตกรรมช่วยยกกระชับ ปรับรูปร่าง ให้คุณสนุกกับการดูแลตัวเองมากยิ่งขึ้นด้วย 7 สารสำคัญช่วยลดเซลลูไลท์ พร้อมแก้ปัญหาผิวพรรณ


- เกาลัดม้า (Horse Chestnut) "สารเอสซิน" กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตเเละน้ำเหลือง ลดอาการ

บวมน้ำในชั้นผิว


- ฟูมิทอรี (Fumitory) "สารฟลาโวนอยด์" กระตุ้นการสลายไขมันในเซลล์ไขมัน


- ใบบัวบก (Gotu Kola) "สารเอเซียติโคไซด์" กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ลดปริมาณไขมันในเซลล์


- ฮอกวีด (Hawkweed) "สารโคโรจีนิก" ลดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ กระตุ้นระบบ

เผาพลาญไขมัน


- บี12 (Cyanocobalamin) เร่งการเผาพลาญและการทำงานในเซลล์


- อาร์จิรีลีน (Acetyl Hexapeptide ช่วยลดเลือนริ้วรอย


- DMAE (Dimethylaminoethanol) ต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องเซลล์ผิว

bottom of page