top of page

DHT เจ้าตัวร้ายทำลายเส้นผม

Updated: Dec 26, 2022

😈 ฮอร์โมนตัวร้ายทำลายเส้นผม.. 😈 รู้ไหม...เส้นผมของเราถูกทำร้าย

ด้วยฮอร์โมนในร่างกายของเราเอง 🤓 ถ้าไม่อยากผมร่วงหมดหัว ❌🙅

หยุดทำความเข้าใจกับเราสักนิดจะดีกว่า 👸👸


DHT (Dihydrotestosterone) ถือได้ว่าเป็นฮอร์โมนหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อเส้นผมด้วยตรงแต่จริงๆ การทำงานของมัน คือการพัฒนาลักษณะทางเพศของ ”ผู้ชาย“ ตั้งแต่การมีขนบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เสียงที่ทุ้มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นรวมทั้งยังเป็นสาเหตุหลักที่เรากล่าวไปเบื้องต้นนั่นก็คือ ศีรษะล้าน ค่ะ ทั้งนี้ในเพศหญิงยังมีเอนไซม์ตัวดังกล่าวแต่ไม่มากพอเนื่องจาก

ระดับฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ตั้งต้นน้อยกว่าเพศชายและมีเอนไซม์ในการเปลี่ยนจากฮอร์โมนเพศชายกลายเป็นตัวอื่นที่ไม่ใช่ DHT ร่วมด้วย


ฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) ?

เป็นฮอร์โมนเพศชายที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดศีรษะล้าน พบปริมาณในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

การผลิตจะเกิดขึ้นบริเวณ : ต่อมหมวกไต (Adrenal gland), ลูกอัณฑะ (Testis) เเละรังไข่ (Ovary)


ด้วยกระบวณการเกิดดังต่อไปนี้

5α-reductase (5-alpha reductase) บริเวณหนังศีรษะที่เพิ่มขึ้น ทำหน้าที่เปลี่ยน ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ( testosterone ) ไปเป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน ( dihydrotestosterone หรือ DHT )


กลไกของฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) กับวงจรของเส้นผม ?

DHT เป็นฮอร์โมนเพศชายที่มีฤทธิ์เพิ่มขึ้น จะเข้าไปทำให้วัฏจักรของเส้นผมมีความผิดปกติไป โดยเข้าไปยังรากผมและทำให้เกิดสารต่างๆ เช่น Beta-catenin, Lymphoid enhancer binding factor-1 (LEF-1), Transforming-growth factor β1 (TGF-β1)

สารเหล่านี้จะทำให้ระยะการงอก (Anagen) ของเส้นผมสั้นลง ในขณะที่ระยะพักก่อนการงอกใหม่ยาวนานขึ้น สุดท้าย ผมเส้นนั้นก็จะหายไปจากหนังศีรษะ


ฮอร์โมนอื่นที่ทำให้…หัวล้าน !!


1.ไทรอยด์ฮอร์โมน

เป็นตัวช่วยในการเผาผลาญอาหาร แต่ถ้าหากผิดปกติจะเกิด ผมร่วง ผมบาง

สัญญาณปัญหาต่อมไทรอยด์ : ผิวเเห้ง เล็บเปราะ อ่อนเพลีย


2. อินซูลิน ระดับออร์โมนที่สูงขึ้น :

ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งของโรครังไข่ Polycystic (PCOS) พบบ่อยมากในผู้หญิง ส่งผลให้ผมร่วง สิว และ น้ำหนักเพิ่ม

หากเกิดในเพศชาย จะเพิ่มการสะสมของไขมันและเอสโตรเจน ส่งผลให้ผมร่วงทางอ้อม


3. เอสโตรเจน

เกิดจากไม่สมดุลของฮอร์โมน ระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด รวมทั้ง ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน


ปรับสมดุลฮอร์โมน ป้องกันผมร่วง จัดการได้อย่างไร ?


1. เลือกรับประทานอาหารเสริม

- จำพวก วิตามินดี, แมกนีเซียม, สังกะสี, โอเมก้า 3

- Adaptogens ฮอร์โมน เช่น Ashwagandha และ Rhodiola


2. นอนหลับให้เพียงพอ

เพราะในช่วงเวลากลางคืน คือช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย การนอนดึก อดนอนหรือนอนน้อยจึงทำให้ร่างกายไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ ทั้งยังมีผลไปถึงความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งสัมพันธ์ต่อความแข็งแรงของรากผมต่อไปได้


3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ


4. ลดความเครียด

ความเครียด จะส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) ออกมา ก่อนจะเข้าไปขัดขวางการทำงานของโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพเส้นผม โดยทำให้วงจรเส้นผมสั้นลงกว่าปกติและเกิดผมร่วงได้ง่ายขึ้น


แม้ว่าจะปรับสมดุลย์ฮอร์โมนเหล่านี้แล้วยังมีปัญหาผมร่วง ผมบาง Innovation Beauty ขอแนะนำ INNOHAIRA นวัตกรรมน้องใหม่ เปลี่ยนผมบาง ให้หนา พร้อมไปยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน DHT ช่วยลดการขาดหลุดร่วง เร่งการเจริญเติบโตให้ต่อมรากผม สามารถสร้างเส้นผมที่แข็งแรงและยาวสลวย ลดการขาดหลุดร่วง ภายใน 4 สัปดาห์ มีความปลอดภัย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ไม่เป็นอันตรายต่อหนังศีรษะ


- Rosemary Extract : เร่งการงอกใหม่และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณรากผมพร้อมต้านการอักเสบ


- Camellia Sinensis Leaf : ปกป้องเส้นผมจากอนุมูลอิสระพร้อมบำรุงให้ผมแข็งแรงไม่หลุดร่วง


- Saw Palmetto : ช่วยลดการขาดหลุดร่วง รากผมฝ่อผมบาง โดยการยับยั้ง Enzymes 5α-Reductase เฉพาะจุดโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย


- Ginseng : ยืดระยะการเจริญเติบโตของวัฎจักรเส้นผม (Anagen) ให้ยาวนานขึ้น


- Soy Isoflavones : กระตุ้นการสร้างเส้นผม ช่วยดักจับ DHT แบบเฉพาะจุดต้นตอของปัญหาเรื่องผมร่วง


- Placenta Extract : อุดมไปด้วยโกรทแฟคเตอร์ (Growth factor) นานาชนิดที่สำคัญต่อการทำงานของวงจรชีวิตผม นอกจากช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากผม ยังเสริมการสร้างหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงเส้นผมได้อย่างทั่วถึง

bottom of page