อัพเดท ตรวจ Covid-19 วิธีไหนได้บ้าง ?
Updated: Dec 26, 2022
ด้วยสถานการณ์ Covid-19ในปัจจุบัน พบผู้ติดเชื่อจำนวนมาก ผู้รับการตรวจหาเชื่อก็มากขึ้นทุกวัน ต้องรอคิวนาน ออกไปข้างนอกก็อันตราย วันนี้อินโนเวชั่นบิวตี้ จะพาคุณหาคำตอบคล้ายความสงสัย
ตรวจหาเชื้อ Covid-19 มีแบบไหนบ้าง ? ผลตรวจแม่นยำมากน้อยแค่ไหน ? แบบไหนสามารถตรวจเองได้ที่บ้าน ?

หลังรัฐบาลประกาศอนุญาตให้การตรวจเชื้อโควิดแบบ Rapid Antigen Test สามารถวางจำหน่ายได้ทั่วไปตามร้านขายยา หลายคนคงอยากรู้ว่าเจ้าเครื่องนี้ มีวิธีการตรวจยุ่งยากหรือไม่ สามารถทำเองได้จริงหรือเปล่า ผลตรวจเที่ยงตรงแค่ไหน อย่าลืมว่าการตรวจแบบ Rapid Antigen Test เป็นเพียงการตรวจเบื้องต้น การตรวจว่าผลเป็นบวกอาจไม่ได้หมายถึงการติดเชื้อ 100% และการตรวจว่าผลเป็นลบไม่ได้หมายความว่าปลอดเชื้อ 100% เช่นกัน

Real-time PCR (Real Time Polymerase Chain Reaction) หรือเรียกสั้นๆ ว่า RT-PCR คือการตรวจหาเชื้อไวรัสโดยดูจากสารพันธุกรรม RNA ของไวรัสเป็นวิธีมาตรฐานสากล (Gold Standard) ใช้ตรวจตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยตรง เหมาะสำหรับการวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น และใช้ติดตามผลการรักษาได้วิธีตรวจคือ การใช้คอตตอนบัดสำหรับทำการ swab สอดเข้าทางโพรงจมูกหรือลำคอ ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วินาที เพื่อเก็บสารคัดหลั่งมาตรวจหาเชื้อไวรัส (Nasopharyngeal swab PCR)
RT-PCR เป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีความไว และความจำเพาะสูง ทราบผลภายใน 24 ชั่วโมง อีกทั้งผลตรวจมีความแม่นยำสูงกว่าวิธีอื่น ๆ วิธีการตรวจแบบ RT-PCR จึงเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งข้อดีของการตรวจแบบ Real-time PCR หรือ RT-PCR นอกจากเป็นการตรวจเชื้อที่แม่นยำแล้ว ยังสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อยๆ ได้ รวมไปถึงตรวจจับได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายอีกด้วย แต่มีข้อจำกัดคือต้องส่งตรวจห้อง Lab ที่ได้มาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Department of Medical Sciences) ถึงจะเชื่อถือได้ และสามารถนำผลตรวจไปใช้ยืนยันการเข้าทำงาน หรือ การเดินทางต่างจังหวัด และต่างประเทศได้

Rapid Antigen Test คือ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือองค์ประกอบไวรัสเก็บสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบน ทางจมูก กระพุ้งแก้ม ลำคอ น้ำลาย ด้วยการ Swab โดยใช้การอ่านสีบน Strip Test ใช้เวลา 15 – 30 นาที ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ได้ผลรวดเร็ว และเป็นวิธีการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส ก่อนเข้ากระบวนการตรวจชนิดยืนยันผลจากห้องปฎิบัติการ
สิ่งที่มีในชุดตรวจ
- ตลับทดสอบ
- ก้านสำลีสำหรับ Swab
- หลอดใส่น้ำยาที่ใช้ตรวจ
- ฝาหลอดหยด
- เอกสารกำกับชุดตรวจ
- ถุงซีสไว้ใส่สิ่งที่ตรวจแล้ว
วิธีการตรวจ
1. ทำความสะอาดพื้นผิวที่จะวางชุดตรวจ
2. ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด หรือใช้เจลล้างมือ เพื่อรักษาความสะอาดของมือที่จะหยับจับอุปกรณ์
3. นำไม้สำลีสอดเข้าไปในจมูกประมาณ 1.5 เซนติเมตร แล้วหมุนวนอย่างน้อย 5 รอบ
4. นำก้านสำลีใส่ลงในหลอดที่มีสารละลายตรวจเชื้อและหมุนวนอย่างน้อย 5 ครั้ง หรือ 15 วินาที แล้วบีบสำลีให้แห้งผ่านหลอด เน้นย้ำว่า ต้องไม่ให้มือสัมผัสกับก้านสำลีหรือสารที่เก็บเชื้อมาจากนั้นนำก้านสำลีทิ้งใส่ซีล
5. หยดสารละลายลงในแท่นตรวจตามจำนวนหยดที่ชุดตรวจกำหนดไว้ รอผล 15-30 นาที
วิธีอ่านค่าผลตรวจ
หลังจากรอ15-30 นาทีแล้ว ให้อ่านค่าจากผลตรวจ ดังนี้
- หากมีแค่ขีดเดียวตรงตัวอักษร C แปลว่าผลตรวจเป็นลบ หรือก็คือไม่ติดเชื้อ
- หากมี 2 ขีดตรงตัวอักษร C และ T แปลว่า ผลตรวจเป็นบวก หรือก็คือติดเชื้อ
- หากไม่มีขีดที่ตัว C เช่น ปรากฎแค่ตรง T หรือไม่มีขีดเลย แปลว่าผลตรวจใช้ไม่ได้ ควรตรวจหาเชื้อใหม่อีกครั้ง โดยทำตามคำแนะนำในคู่มืออย่างเคร่งครัด
ข้อควรระวัง
- การตรวจเชื้อไวรัส (Antigen) ต้องรับเชื้อมาแล้ว 5 – 14 วัน ถึงจะตรวจได้ผลที่แม่นยำ
- การตรวจได้ผลเป็น Positive หรือ Negative ไม่ได้หมายความการันตีว่าจะพบเชื้อ หรือ ไม่พบเชื้อ เพราะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้รับเชื้อมาแล้วด้วย หากมีอาการอื่น ๆ หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้วผลออกมาเป็นลบ ควรตรวจซ้ำ เพื่อความแม่นยำ
- Rapid Antigen Test ที่ใช้ตรวจ จะต้องได้รับการอนุมัติจาก อย. แล้วเท่านั้น
- ชุดตรวจถือเป็นขยะติดเชื้อ สามารถแพร่เชื้อได้กรุณาใช้และทิ้งให้ถูกสุขลักษณะ โดยใส่ขยะในถุงสีแดง หรืออาจแปะป้าย/ทำสัญลักษณ์ให้รู้ว่า เป็นขยะทางการแพทย์

Rapid Antibody Test คือ การตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด-19 โดยใช้วิธีการเจาะเลือดที่บริเวณปลายนิ้วหรือท้องแขน โดยผู้ตรวจจะต้องรับเชื้อมาแล้ว 10 วันขึ้นไป ถึงจะตรวจเจอภูมิคุ้มกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น วิธีการตรวจนี้มีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง เพราะภูมิคุ้มกันโควิด-19 ไม่ได้มาจากการติดเชื้อเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะมาจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยดีแล้ว ก็สามารถตรวจพบได้

เปรียบเทียบ วิธีการตรวจหาเชื้อ
PT-PCR Test
เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส Covid-19 โดยวิธีแยงจมูกสามารถหาเชื้อจากตัวอย่างที่มีปริมาณน้อยได้มีความแม่นยำสูงใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น
Rapid Antigen Test
เป็นการตรวจหาเชื้อ Covid-19 และคัดกรองโรคเบื้องต้นโดยวิธีแยงจมูกต้องได้รับเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน ผลถึงจะพอแม่นยำ แต่ควรตรวจซ้ำด้วยวิธี PT-PCR เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นสามารถจำหน่ายในร้านขายยาได้
Rapid Antibody Test
เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อ Covid-19โดยวิธีเจาะเลือดไม่สามารถนำมาใช้ตรวจหาผู้ติดเชื้อได้ เพราะภูมิอาจมาจากวัคซีนยังไม่แนะนำให้ใช้ตรวจคัดกรองเบื้องต้น ใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น