สูตร "วัคซีน" ป้องกันง่ายๆที่ทุกคนสร้างได้เอง
Updated: Dec 26, 2022
"COVID-19 ไม่ได้หายไปไหน" แต่จะอยู่ร่วมกันอย่างไรให้ปลอดภัยและมีสุข?
ขณะนี้การใช้ชีวิตประจำวันล้วนได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ทั้งสิ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การใช้ชีวิตของผู้คนขณะนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็น การทักทาย หลายประเทศทั่วโลกมองว่าอาจต้องเปลี่ยนการทักทายจากการจับมือ กอด ไปเป็นรูปแบบอื่นๆ หรือการอยู่ห่างกัน 2 เมตร ทำให้คนที่อยู่ใกล้กันก็ไม่สื่อสารกัน ต้องยืนห่างกัน เวลาไปทำงาน หรือเข้าสถานที่ต่างๆต้องมีการตรวจอุณหภูมิ หรือการกินข้าวในประเทศจีน คนหนึ่งคนจะนั่งกินอาหารเพียงคนเดียวในโต๊ะ มีคิวในการกินอาหาร ทำให้ไม่มีการปฎิสัมพันธ์ต่อกัน
ถึงเวลาแล้วที่เราจะปรับเปลี่ยนหลายๆอย่างเพื่อให้การอยู่รวมกันเป็นไปอย่างราบรื่น
วัคซีนสู้ Covid19 ที่เราสร้างได้เอง
1. ป้องกันเชื้อไวรัส เพิ่มภูมิคุ้มกันสุขภาพด้วยการนอน
ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
2. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการรับประทานอาหารเสริม
เช่นVitamin B-Complex, Vitamin D, และที่ขาดไม่ได้คือ Vitamin C
3. ลดการบริโภคน้ำตาลหรือไม่ทานหวาน
เพราะน้ำตาลแปรรูปเป็นอาหารที่ดีของไวรัส นั้นก็รวมถึง Covid-19 ด้วยเช่นกัน
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอให้ปอดแข็งแรง
ออกกำลังกายแนะนำให้มีกิจกรรมทางกายต่อเนื่องกันอย่างน้อยวันละ 30-45 นาที เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์สามารถเพิ่มภูมิต้านทานได้ เช่น การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน การเล่นโยคะ โดยควรรักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากบุคคลอื่นๆ หรือทำกิจกรรมการออกกำลังกายภายในบ้าน
5. เลิกกินเหล้า เลิกสูบบุหรี่
แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุเพิ่มความเสี่ยงในโรคติดเชื้อ อาทิ วัณโรคปอด ปอดบวม โรคติดเชื้อในปอด ส่วนเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในปอดได้เช่นกัน ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีโอกาสรับเชื้อง่ายกว่าคนปกติ เพราะเมื่อดื่มเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานฆ่าเชื้อโรคในร่างกายได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ติดเชื้อต่างๆได้ แต่หากว่าวันนี้เราไม่สามารถเลิกได้ เพียงแค่ลดปริมาณลงเชื่อว่าจะดีต่อสุขภาพแน่นอน
6. การเว้นระยะห่างทางสังคม Social Distancing
การเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ การเว้นระยะห่างทางกายภาพ คือชุดการดำเนินการควบคุมการติดเชื้อโดยไม่ใช้ยา เพื่อหยุดหรือชะลอการแพร่กระจายของโรคติดต่อ วัตถุประสงค์ของการเว้นระยะห่างทางสังคมคือการลดโอกาสการสัมผัสระหว่างคนที่เป็นพาหะกับคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ติดเชื้อ เพื่อลดการแพร่เชื้อ การเจ็บป่วย และสุดท้าย การเสียชีวิต
ปรับ Mindset ยอมรับ ปรับตัว และเป็นสุข
การดูแลควบคุม Covid-19 นั้นเราต้องร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนทุกชนชั้น ที่สำคัญอย่าตื่นตระหนกหรือเสพสื่อให้มากเกินไปจนทำให้เราจิตตก และสิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนมุมมองความคิดเกี่ยวกับ Covid-19เนื่องด้วยในปัจจุบันเราไม่สามารถที่จะปฏิเสธมันได้ มันอยู่ที่ว่าเราควรอยู่กับมันอย่างไรให้ปลอดภัยและเป็นสุข ดังนั้นเราต้องเป็นคนที่ควบคุมโรคอย่างแรกเลยคือ ดูแลสุขภาพ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอย่างที่บอกไว้ทั้ง 6 ข้อดั่งข้างต้น แต่อย่าลืมเพิ่มวัคซีนทางจิตใจ ลดเครียด หลีกเลี่ยงวิตกกังวล ความเครียดนั้นมีผลต่อภูมิต้านทานสูงมาก อวัยวะหลายส่วนในร่างกายจะเริ่มทำงานผิดปกติไป รวมไปถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงไปด้วย เนื่องจากเมื่อเรามีอาการเครียดจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า คอร์ติซอลออกมา(ฮอร์โมนความเครียด) ถ้ามีฮอร์โมนตัวนี้มากเกินไป จะทำให้ภูมิต้านทานตก ซึ่งอาจทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงและเจ็บป่วยได้ง่าย
สหรัฐฯเริ่มทดสอบ วัคซีนต้านโควิด-19 กับมนุษย์เป็นครั้งแรกแล้ว โดย...ได้เริ่มการทดสอบวัคซีนดังกล่าวกับอาสาสมัคร 4 คนแรกที่ศูนย์วิจัยไกเซอร์ เพอร์มาเนน (Kaiser Permanente) ตัววัคซีนที่ใช้ทดลองนั้นมีชื่อว่า mRNA-1273 ซึ่งมีบางส่วนของพันธุกรรมที่ได้คัดลอกมาจากตัวเชื้อไวรัสโควิด-19 วัคซีนตัวนี้จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายของเราผลิตแอนติบอดี้มาต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19
และเมื่อวันที่8 เมษายน จากการรายงานของข่าว
“สหรัฐ” เริ่มทดลอง “วัคซีนต้านโควิด-19” ตัวที่สองกับคน
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐ (เอฟดีเอ) ได้อนุมัติการใช้ยาใหม่ชื่อ “INO-4800” ซึ่งเป็นดีเอ็นเอวัคซีนที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) โดยเฉพาะ โดยทางบริษัทได้เริ่มทำการทดสอบยาดังกล่าวในระยะแรกกับมนุษย์
สำหรับทางด้านการทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน mRNA-1273 จากการเฝ้าตามผลตอนเริ่มต้นเป็นไปได้ด้วยดี แต่ถึงอย่างนั้น ก็อาจใช้เวลานานถึง 18 เดือน กว่าจะได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพพร้อมใช้กับประชาชนทั่วไป ส่วนยา “INO-4800” จะทำการศึกษาผลการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน และเก็บข้อมูลความปลอดภัยเบื้องต้น ขั้นตอนแรกนี้จะดูว่า วัคซีนมีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการทดสอบการป้องกันโรคในกลุ่มขนาดใหญ่กว่านี้หรือไม่ ซึ่งกระบวนการศึกษาเหล่านี้คาดว่า อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี โดยเราอาจจะต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะรู้ว่าวัคซีนทั้ง 2 ตัวนี้จะสามารถใช้ได้ผลจริงหรือไม่