top of page

บอกลา! ปัญหา ผมร่วง ผมบางด้วย นวัตกรรมการรักษา อย่างตรงจุด

Updated: 7 days ago


ปัญหาผมร่วง ผมบาง

สารบัญ

เส้นผมคืออะไร

โครงสร้างของเส้นผม

องค์ประกอบของเส้นผม

ระยะการเจริญเติบโตของเส้นผม

ช่วงอายุและวงจรของเส้นผม

วิธีสังเกตุว่าผมร่วงมากผิดปกติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม

ลักษณะศีรษะล้านมีกี่แบบ

การรักษาภาวะผมร่วง ผมบาง ในปัจจุบัน

การดูแลตัวเองหลังการรักษา


 

1.) เส้นผมคืออะไร

จัดเป็นเคราติน (Keratin)ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ในการป้องกันสารต่างๆเข้าสู่ผิวหนัง ปกป้องรังสียูวี รวมถึงสร้างความแข็งแรงให้กับผิวหนัง เมื่อซูมเข้าไปใกล้ๆจะเห็นลักษณะการเรียงตัวของเส้นใยเคราตินซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา หากการเรียงตัวมีความผิดปกติ จะส่งผลให้เส้นผมแห้งเสียได้ง่าย โดยปกติเส้นผมถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รากผม (hair root) ส่วนที่ฝังอยู่ใต้หนังศีรษะ และ เส้นผม (hair shaft) เป็นส่วนที่งอกเหนือหนังศีรษะ


 

2.) โครงสร้างของเส้นผม

รากผม (hair root) ทางการแพทย์เรียกรากผมว่า “ต่อมไร้ท่อ” ซึ่งมีหน้าที่สำคัญช่วยยึดเกาะเส้นผมไว้กับหนังศีรษะให้แข็งแรง และทำหน้าที่ดูดซับสารอาหารแบบ Osmosis จากเส้นเลือดฝอยที่อยู่ใต้รากผม

เส้นผมงอกมาจากเซลล์แรกเริ่มที่เรียกว่า เดอร์มัล แปปิลลา (Dermal Papilla) ซึ่งจะเจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์ต่อมผมหรือ Hair Follicle และแบ่งตัวสร้างเส้นผม สีผม ความหยิกของผม เป็นต้น หนังศีรษะมีต่อมผมประมาณ 80,000 ถึง 1,200,000 ต่อม พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดจำนวน ชนิด และสีของเส้นผม หนังศีรษะของเรามีเลือดมาเลี้ยงมาก ทำหน้าที่ควบคุมการกระจายความร้อนของร่างกาย ต่อมรากผม (hair follicle) จะอยู่ตอนล่างสุดของรากผมจะมีลักษณะโป่งออกเป็นกระเปาะเปิดเว้าเข้าด้านในเรียกว่า Hair bulb ตั้งอยู่บนฐานซึ่งเป็นเนื้อเยื่อยึดต่อลักษณะคล้ายนิ้วมือยื่นเข้าไปในโพรงของ hair bulb เรียกว่าเดอร์มัลแปปิลลา(Dermal Papilla) ดังนั้นต่อมรากผมแต่ละต่อมจะมี Dermal Papilla 1 อันเสมอ ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมเพราะเป็นส่วนที่มีเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงทำให้เซลล์รากผมมีการเจริญแบ่งตัวเกิดเซลล์ใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ในคนที่หัวล้านมีสาเหตุมาจากเซลล์ของ Papilla ตายหรือฝ่อไป ผมขาดอาหารและหลุดร่วงไม่มีการงอกใหม่ ผมแต่ละเส้นงอกจากเดอร์มัลแปปิลลา(Dermal Papilla)ไปเป็นเซลล์ที่เรียกว่า แมทริกซ์ (Matrix) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ผลิตเซลล์ผม เมื่อเซลล์นี้แบ่งตัวมากขึ้นมันจะดันเซลล์นี้ขึ้นไปข้างบนจนอยู่เหนือผิวหนังเซลล์ผมที่ถูกผลักขึ้นมาเรื่อยๆ จะค่อยๆตาย ขณะเดียวกันก็ผลิตสารเคอราติน(Keratin) พอกพูนขึ้น สารเคอราตินนี้จะเรียงตัวเป็นเส้นขนาน แต่ละเส้นของเคอราตินจะถูกยึดติดกันด้วยพลังไดซัลไฟด์บอด์ (Disulfide Bond) เมื่อสารเคอราตินถูกผลักให้สูงขึ้นๆจนกลายเป็น เส้นผม(hair shaft) ที่ยืดยาวออกมา นั่นเอง


รากผม

เส้นผม (hair shaft) ตามหลักชีววิทยาของเส้นผม จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้


เส้นผม

1. เกล็ดผม (Cuticle) คือชั้นนอกสุดของเส้นผมประกอบขึ้นจากเซลล์เคราตินที่เรียงซ้อนกันหลายชั้น หน้าที่หลักของเกล็ดผมคือปกป้องเนื้อผมจากการถูกทำลาย สภาวะของเกล็ดผมมีผลต่อความแข็งแรงของเส้นผม เนื่องจากเกล็ดผมเป็นตัวกำหนดลักษณะของเส้นผม เช่นความเงางาม เรียบลื่น และความยากง่ายในการจัดทรง เมื่อเกล็ดผมถูกทำลายผมจะดูไม่เงางาม แห้งเสีย และชี้ฟู เกล็ดผมสุขภาพดีจึงเป็นหัวใจสำคัญของผมสวย

2. เนื้อผม (Cortex) อยู่ภายใต้ชั้นเกล็ดผม จัดเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเส้นผม เนื้อผมประกอบด้วยเส้นใยเคราตินสายยาวหลายสายที่ยึดเกาะกัน เรียกว่า เซลล์เมมเบรน คอมเพล็กซ์ (Cell membrane complex) ความแข็งแรง ยืดหยุ่น และผิวสัมผัสของเส้นผมจะถูกกำหนดโดยเนื้อผม นอกจากนี้ ในเนื้อผมยังมีเม็ดสีเมลานิน ซึ่งเป็นตัวกำหนดสีผม ถ้าเนื้อผมถูกทำลาย เส้นผมจะอ่อนแอ เปราะบาง ขาดหลุดร่วงง่ายและการเกิดผมแตกปลาย

3. แกนผม (Medulla) อยู่ด้านในของเส้นผม ซึ่งมีโครงสร้างเป็นรูกลวง แต่อาจไม่ได้มีอยู่ตลอดความยาวของเส้นผม โครงสร้างที่เป็นรูกลวง เป็นตัวเพิ่มความหนาให้กับเส้นผม


 

3.) องค์ประกอบหลักของเส้นผม เส้นผมเกิดจากส่วนประกอบหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะ

  • โปรตีน องค์ประกอบหลักของผมคือโปรตีนเคราติน โปรตีน คือ โพลีเมอร์ขนาดใหญ่ที่ประกอบขึ้นจากกรดอะมิโน ซึ่งจะบ่งบอกถึง ความแข็งแรงโดยรวมของเส้นผม

  • เมลานิน เป็นตัวกำหนดสีผม ผมขาวเกิดจากการผลิตเม็ดสีเมลานินลดลงหรือหยุดการผลิตเม็ดสี

  • น้ำ เมื่อเส้นผมมีองค์ประกอบน้ำสูง เส้นผมจะยิ่งมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเช่นกัน

  • ลิพิด (ไขมัน) เปรียบเสมือน “กาวเชื่อม” ที่ยึดผมเข้าไว้ด้วยกัน ลิพิดเป็นเกราะป้องกันการสูญเสียความชื้นจากเส้นผม และช่วยให้เกล็ดผมต้านทานต่อการเสียดสีที่ทำร้ายเส้นผม


 

4.) ระยะการเจริญเติบโตของเส้นผม


ระยะเจริญเติบโต

ระยะเจริญเติบโต (Anagen) ระยะเจริญเติบโตจะคงอยู่เป็นเวลา 2-6 ปี ช่วงระยะเวลานี้ถูกกำหนดไว้แล้วโดยพันธุกรรม ยิ่งต่อมรากผมอยู่ในระยะเจริญเติบโตนานเท่าไร เส้นผมจะยิ่งงอกได้ยาวมากเท่านั้น ผู้ที่มีระยะเจริญเติบโตของเส้นผมยาวนานจะมีผมที่งอกได้ยาวกว่าผู้ที่มีระยะเจริญเติบโตของเส้นผมสั้น ประมาณ 90% ของเส้นผมบนหนังศีรษะจะอยู่ในระยะนี้

ระยะหยุดเจริญเติบโต (Catagen)

ระยะหยุดเจริญเติบโตคือระยะเปลี่ยนผ่านระหว่างระยะเจริญเติบโตและระยะหลุดร่วง ซึ่งคงอยู่เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เส้นผมจะหยุดงอกและพักให้ต่อมรากผมได้ฟื้นบำรุงตัวเอง ในระหว่างระยะหยุดเจริญเติบโตต่อมรากผมจะหดตัว ส่งผลให้เส้นผมถูกดันขึ้นด้านบน

ระยะหลุดร่วง (Telogen)

ระยะหลุดร่วงคือระยะพัก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-4 เดือน เมื่อสิ้นสุดระยะพัก เส้นผมจะหลุดร่วงออกและมีผมเส้นใหม่ งอกขึ้นมาแทนที่ ต่อมรากผมกลับเข้าสู่ระยะเจริญเติบโตและเริ่มต้นวงจรการงอกใหม่ของเส้นผมอีกครั้ง

วงจรการงอกของเส้นผมทั้ง 3 ระยะนี้เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วทั้งหนังศีรษะ ผมเส้นหนึ่งอาจอยู่ในระยะเจริญเติบโต ในขณะที่บริเวณผมด้านข้างอยู่ในระยะพัก ซึ่งวงจรของผมเป็นสิ่งที่อธิบายว่า เหตุใดเราจึงสังเกตเห็นผมจำนวนหนึ่งหลุดติดออกมากับหวีทุกวัน ในขณะที่เส้นผมของเรายังคงดูหนาแน่นเต็มศีรษะอยู่


 

5.) ช่วงอายุและวงจรชีวิตของเส้นผม

  • ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงอายุ 30 ปี เส้นผมจะอยู่ในระดับงอก มากกว่า 90% ดังนั้น ช่วงนี้ผมจะดูดกและหนาแน่นมากที่สุด

  • ช่วงอายุ 30 - 50 ปี เส้นผมจะอยู่ในระยะงอก ในบางคนอาจจะคงที่หรือลดลงเล็กน้อย

  • ช่วงอายุ 50 - 60 ปี เส้นผมที่อยู่ในระดับงอก จะค่อยๆลดลงทีละน้อย ขนาดของเส้นผมจะมีขนาดเล็กลง ทำให้เกิดอาการผมบางลง

  • ช่วงอายุมากกว่า 60 ปี เส้นผมที่อยู่ในระดับงอก จนลดลงอย่างเห็นได้ชัดในผู้สูงอายุ


 

6.) วิธีสังเกตว่าผมร่วงมากผิดปกติ ผมหลุดร่วงเป็นเรื่องธรรมดา เส้นผมเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เกิดจากการรวมกันของเซลล์เคราตินที่ตายแล้วเส้นผมงอกออกจากต่อมรากผมที่อยู่ในหนังศีรษะ ในขณะที่ต่อมรากผมผลิตเซลล์ผมใหม่ เซลล์เก่าจะถูกดันออกผ่านทางด้านบนของผิวหนัง ผมยาวขึ้นในอัตราประมาณ 6 นิ้ว หรือ 15 เซนติเมตรต่อปี บนศีรษะของผู้ใหญ่มีเส้นผมเฉลี่ยประมาณ 100,000 - 150,000 เส้น และในแต่ละวันเส้นผมจะหลุดร่วงออกได้มากถึง 100 เส้น แต่ถ้าเส้นผมหลุดร่วงเกิน 100 เส้น/วัน ติดต่อกันนานหลายวัน แสดงว่ามีผมร่วงมากผิดปกติ


 

7.) ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม

  • พันธุกรรม ตัวแปรสำคัญที่สร้างความแตกต่างในแต่ละบุคคล หากพ่อหรือแม่มีปัญหาผมบาง มีความเป็นไปได้สูงมากที่ลักษณะเช่นนี้จะถ่ายทอดสู่รุ่นลูก รวมถึงสภาพเส้นผมและหนังศีรษะอีกด้วย

  • การขาดโปรตีน หากร่างกายได้รับโปรตีนจากอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายจะเก็บโปรตีนไว้ใช้ตามอวัยวะสำคัญ จึงนำโปรตีนไปใช้เลี้ยงเส้นผมน้อยลง ทำให้กระบวนการของเส้นผมผิดปกติและหลุดร่วงง่ายขึ้น

  • ปัญหาสุขภาพ เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคเบาหวาน ไทรอยด์ โลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก แม้แต่การหักโหมลดน้ำหนักจนส่งผลให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการกิน

  • การใช้ยา ยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วงชั่วคราว เช่น ยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น

  • การทำร้ายเส้นผม ไม่ว่าจะเป็นการยืด ดัด ย้อมสีผม รวมถึงเส้นผมที่ต้องสัมผัสกับความร้อนบ่อยและเป็นเวลานาน ทำให้ผมอ่อนแอและหลุดร่วงง่าย

  • ฮอร์โมน DHT จากการศึกษาพบว่าทั้งในชายและหญิงจะมีฮอร์โมนเพศชายที่สร้างจากต่อมหมวกไต ได้แก่ ฮอร์โมนเทสโทสโตโรน(Testosterone) และไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน(dihydrotestosterone, DHT) การทำงานปกติของฮอร์โมนจะกระตุ้นให้เปลี่ยนเป็นเส้นผมหนาดำและยาวขึ้น กระตุ้นการสร้างอสุจิ ขนาดอวัยวะเพศ เสียง ความรู้สึกทางเพศ แต่ถ้ามีมากขึ้นจะเร่งให้มีการผลัดเส้นผมในบริเวณเหนือหน้าผาก และกลางกระหม่อม โดยอายุเส้นผมระยะเจริญเติบโต(Anagen) จะสั้นลง ผมจึงหลุดร่วงก่อนกำหนด เส้นผมใหม่ที่ขึ้นแทนจะขนาดเล็กและสั้นลงตามลำดับ เพราะขนาดรากผมเล็กลงและฝ่อลงไปในที่สุด

  • ไทรอยด์ฮอร์โมน ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ตามที่รู้จักกันจะช่วยในเรื่องการเผาผลาญอาหารโดยตรง แต่ก็อยู่เบื้องหลังของการทำให้ผมร่วง ผมบาง ได้เช่นกัน เมื่อไหร่ที่มีผิวแห้ง เล็บเปราะ อ่อนเพลีย นั่นเป็นสัญญาณว่ามีความผิดปกติ ของต่อมไทรอยด์แล้ว

  • ฮอร์โมนอินซูลิน ระดับอินซูลินสูงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่รู้จักกันในชื่อของโรครังไข่ polycystic (PCOS) ซึ่งเป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่พบบ่อยมากในผู้หญิง PCOS จะขับเคลื่อนด้วยอินซูลินสูงเรื้อรัง (Hyperinsulinemia) ซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียเส้นผม ทำให้ผมร่วง สิว และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ที่น่าตกใจคือ ผู้ชายที่มี Hyperinsulinemia ก็จะทำให้ผมร่วง แต่หากอินซูลินมากเกินไปนั่นคือจะก่อให้เกิดการสะสมของไขมันมากขึ้นและเพิ่มการผลิตเอสโตรเจนทำให้ผู้ชายก็มีผมร่วงได้ในทางอ้อม

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนไม่สมดุลเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของผมร่วงในผู้หญิง ผู้หญิงหลายคนพบว่าในการตั้งครรภ์เมื่อระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นและลดลงแล้วหลังคลอด จะมีปัญหาผมร่วงอย่างหนัก นอกจากนี้ปัญหาผมร่วงจากฮอร์โมนไม่สมดุลยังเกิดกับผู้หญิงจำนวนมากในช่วงวัยหมดประจำเดือน

  • โรคผมผลัด (Telogen effluvium) โดยผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วง ทั่วศีรษะมากผิดปกติ (มากกว่า 100 เส้น/วัน แต่ไม่มากเกิน 50% ของผมทั้งศีรษะ ในระยะเวลา 2-3 เดือน สาเหตุการติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ร่างกายเกิดความเครียดและมีการกระตุ้นปฏิกิริยาการอักเสบ ส่งผลต่อวงจรชีวิตของเส้นผม มีการเปลี่ยนเร็วกว่าปกติ และเกิดการหลุดร่วงของเส้นผมมมากกว่าปกติ


 

8.) ลักษณะศีรษะล้านมีกี่แบบ

นอกจากศีรษะล้านพันธุกรรมแล้ว ลักษณะของศีรษะล้านมี 4 แบบ ดังนี้

  • Alopecia Areata ก็คืออาการผมร่วงเป็นหย่อมนั่นเอง ในบางคนเมื่อผมบริเวณนั้นร่วงไปแล้วก็จะไม่งอกขึ้นมาอีกเลย

  • Cicatricial Areata คือการที่ผมร่วงจากการอักเสบของรากผม แล้วทิ้งรอยแผลเป็นบนหนังศีรษะ

  • Postpartum Areata คืออาการผมร่วงหลังมีบุตร อาการนี้เกิดจากฮอร์โมน เมื่อฮอร์โมนกลับมาปกติผมก็จะขึ้นปกติ

  • Traction Areata คืออาการศีรษะล้านจากการที่ผมโดนดึงบ่อยๆ จากการทำผมอย่างการถักเปีย หรือจากการโพกหัวของบางศาสนา


ลักษณะศรีษะล้าน

 

9.) นวัตกรรมการรักษาภาวะผมร่วง ผมบางในปัจจุบัน

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์เจริญไปไกล ทำให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาผมร่วงจากพันธุกรรม มีทางเลือกมากมายในการรักษา อาทิเช่น

  • การผ่าตัดปลูกผมจริง

  • การฉีด PRP (Platelet Rich Plasma)

  • การทำเลเซอร์ผมและหนังศีรษะ (Hair and scalp laser therapy)

  • การรับประทานยา Minoxidil ยา Finasteride และยา spironolactone

  • การฉีด Mesotherapy


นวัตกรรมรักษาผมร่วงในปัจจุบัน

การปลูกผมจริง เป็นอย่างไร?

เป็นวิธีการแก้ปัญหาผมร่วงแบบถาวร คือ การนำรากผมปลูกลงบนหนังศีรษะ ในตำแหน่งที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หนังศีรษะล้าน โดยผมใหม่ที่ขึ้นมาจะอยู่ในตำแหน่งที่นำไปปลูกสามารถหลุดร่วงได้ตามวงจรของผม


การผ่าตัดปลูกผมจริงมี 2 แบบ ดังนี้

1. ปลูกผมแบบ Strip FUT หรือ FUT (Follicular Unit Transplantation)

แพทย์จะนำรากผมออกจากท้ายทอย โดยการตัดหนังศีรษะชั้นบนบางส่วนจากท้ายทอยออกมาพร้อมรากผม แล้วจึงนำชิ้นหนังศีรษะนั้นไปแยกกอรากผมออกจากกันใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง


ข้อดี : ได้กอรากผมสมบูรณ์ ปลูกผมติดง่าย

ข้อเสีย : แผลเป็นจากการผ่าตัดที่ศีรษะ


 ปลูกผมแบบ Strip FUT

2. ปลูกผมแบบ FUE (Follicular Unit Excision)

แพทย์จะเจาะรากผมออกมาโดยใช้เครื่องเจาะไฟฟ้า รากผมที่ได้ออกมาจะเป็นเฉพาะส่วนกอรากผมเลย ไม่มีเนื้อเยื่อรอบๆออกมาด้วย ทำให้แผลจากการผ่าตัดมีขนาดเล็กมากเพียง 1 มิลลิเมตรเท่านั้น


ข้อดี : ไม่มีรอยแผลเป็นหลังทำ

ข้อเสีย : ผมท้ายทอยจะบางลง และไม่มีผมงอกใหม่ทดแทนในตำแหน่งเดิม กอรากผมที่ได้ออกมาก็มีโอกาสเสียหายได้มากกว่า ทำให้กอผมบาง กออาจปลูกไม่ติด


ปลูกผมแบบ FUE

การฉีด PRP (Platelet Rich Plasma) เป็นอย่างไร?

คือการฉีด Plasma หรือเกล็ดเลือดเข้าไปบริเวณหนังศีรษะ โดยนำเลือดของผู้ป่วยมาผ่านขบวนการทาง Bio-Technology เพื่อให้ได้เกล็ดเลือดคุณภาพสูงเป็นจำนวนมาก สามารถทำให้เกิด Growth factor และ Stem cell ในบริเวณรากผม เพื่อเสริมสร้าง ฟื้นฟูรากผม ให้สามารถกลับมาสร้างเส้นผมใหม่ได้อีกครั้ง


ข้อดี : เส้นผมหนาขึ้น ร่วงน้อยลง และสามารถจะเห็นผมใหม่เกิดขึ้นได้

ข้อเสีย : ฉีดเดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ครั้ง หลังจากนั้นผลจะอยู่ได้ประมาณ 1 ปี ผลลัพธ์ขึ้นอยู่แล้วแต่ตัวบุคคล หรือหากต้องการให้ผลลัพธ์นานขึ้นควรฉีดซ้ำทุกๆ 6 เดือน


การฉีด PRP

การทำเลเซอร์ผมและหนังศีรษะ (Hair and Scalp Laser Therapy) เป็นอย่างไร?

เป็นการใช้เลเซอร์ยิงลงสู่รากผมโดยตรงเพื่อการฟื้นฟูรากผมให้เกิดการสร้างเส้นผมใหม่ ทำให้ผมเก่าที่เสื่อมสภาพกลับมาเจริญเติบโตและทำให้เส้นผมแข็งแรงขึ้น


ข้อดี : ผมหลุดร่วงน้อยลง หนาขึ้น ไม่รู้สึกเจ็บ เหมาะกับการบำรุงเส้นผม

ข้อเสีย : ในระยะแรกอาจต้องทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลาทั้งหมด 10 ครั้ง หลังจากนั้นจึงทำทุกๆ 1-2 เดือน

การทำเลเซอร์ผมและหนังศีรษะ

การรับประทานยา Minoxidil ยา Finasteride รักษาปัญหาผมอย่างไร?

  • Minoxidil มีทั้งชนิดทาและรับประทาน ไม่เหมาะที่จะให้ผู้หญิงรับประทานเพราะจะทำให้ขนตามตัว หนวด เครายาวผิดปกติ ในผู้หญิงควรใช้ยานี้ในรูปยาทาเท่านั้น

  • Finasteride 1 mg/day ผู้ป่วยต้องใช้ยาติดต่อกันนานอย่างน้อย 1 ปี และเมื่อได้ผลแล้วต้องใช้ยาต่อไป เพราะถ้าหยุดยาผมที่งอกขึ้นมาจะกลับบางลงเหมือนเดิม (ยาชนิดนี้ไม่ได้ผลรักษาในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว)

การรับประทานยา Minoxidil ยา Finasteride


การฉีด Mesotherapy ปลูกผมอย่างไร?

เป็นการฉีดสารต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อการดำชีวิตของเส้นผม การชะลอวัฏจักรของเส้นผม การลดเอนไซม์หรือฮอร์โมนบางชนิดที่มีผลต่อการหลุดร่วงของเส้นผม และยังมีส่วนในการช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง กระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม


ข้อดี : ทำได้ง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องพักฟื้นหลังการรักษา เห็นผลได้ดี

ข้อเสีย : อาจมีรอยเข็มบ้างเล็กน้อยหลังการรักษาแต่สามารถหายเองได้


 

10.) การดูแลตัวเองหลังการรักษา

10.1 หลังการรักษา : ผ่าตัดปลูกผม

- หลีกเลี่ยงการแกะเกาหนังศีรษะและสะเก็ดแผล

- ดูแลเส้นผมและทำความสะอาดหนังศีรษะ ตามคำแนะนำของแพทย์

- นอนหมอนสูง เพื่อลดความดันบริเวณแผล ควรสวมหมวกผ้าที่ให้ไปขณะนอนด้วยในช่วง 5 คืนแรกป้องกันการเกา

- ระวังอย่าให้ศีรษะกระแทกของแข็ง

- งดออกกำลังกาย ยกของหนัก หรือก้มหยิบของ

- งดตากแดดหรือโดนแสงแดดเป็นเวลานาน ห้ามอยู่ในที่ร้อนเกินไป

- หลีกเลี่ยงการอยู่ในชุมชนแออัด หรือที่มีฝุ่นควันมาก

- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่

- หลังการผ่าตัด 4 วัน หากจำเป็นต้องทานยา หรืออาหารเสริม ให้ปรึกษาแพทย์ก่อน

10.2 หลังการรักษา : PRP (Platelet Rich Plasma)

- ควรหลีกเลี่ยงการโดนน้ำ 1 วันห้ามสระผม

- ในช่วงสัปดาห์แรกให้ใช้ยาสระผมสูตรอ่อนโยน ในขณะที่สระก็ไม่ควรนวด หรือเกาแรงเกินไป

- งดใช้เจล น้ำมัน แว๊กซ์ สเปรย์จัดแต่งผม

- งดอาหารที่มีไขมันสูง

- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่

10.3 หลังการรักษา : การทำเลเซอร์ผมและหนังศีรษะ (Hair and Scalp Laser Therapy)

- หลีกเลี่ยงแสงแดด

- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เหงื่อออกมากๆ

- งดแช่น้ำอุ่น 3 วันหลังทำเลเซอร์

10.4 หลังการรักษา : การรับประทานยา Minoxidil ยา Finasteride

- งดดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่

- ยา Finasteride เป็นยาแก้ผมร่วงที่ใช้ได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น ควรทานอย่างต่อเนื่อง เพราะยาจะเริ่มเห็นผลเมื่อใช้ 4-6 เดือนแต่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนเมื่อใช้ 1 ปีขึ้นไป

- หากจำเป็นต้องทานยา หรืออาหารเสริม ควรปรึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

10.5 หลังการรักษา : การทำ Mesotherapy ปลูกผม

- หลังทำการฉีดงดโดนน้ำ 4-5 ชม.

- หลังทำการฉีดควรหลีกเลี่ยงการแคะ แกะ เกา บริเวณหนังศีรษะ

- งดดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่

วิธีการรักษาหลุมสิว

ข้อดี

ข้อเสีย

ประสิทธิภาพในการรักษา

(-/5)

คะแนนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

(-/5)

1. การปลูกผมจริง

-แก้ปัญหาหัวล้านได้อย่างเด็ดขาด จากทุกสาเหตุ

​-หลังการทำหัตถการต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน

- ต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดเพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้


ดาว


กดไลก์

2. การฉีด PRP (Platelet Rich Plasma)


​-สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว พักฟื้นไม่นานหลังจากการฉีด

-ผู้ทำการรักษาต้องเจ็บตัวหลายตำแหน่ง

-เนื่องจากต้องมีการนำเลือดออกจากตัวผู้ทำการรักษาก่อนเพื่อไปแยกเอาเกล็ดเลือด อาจมีการปนเปื้อนขณะทำได้

ดาว



กดไลก์

3. การทำเลเซอร์ผมและหนังศีรษะ

-เลเซอร์สามารถส่งความร้อนปริมาณสูง ส่งลงไปถึงรากผมได้โดยตรง กระตุ้นการสร้างรากผมใหม่ได้

​-การใช้เลเซอร์ในการรักษาต้องความร้อนที่สูงอาจมีอาการแสบ ร้อน บวมแดง


ดาว









กดไลก์

4. การรับประทานยา Minoxidil ยา Finasteride

-การรักษาง่าย ไม่ยุ่งยาก (ต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์)

- การรับประทานยามากๆ อาจมีผลต่อการทำงานของตับ

-อาจทำให้ขนยาวได้ทุกส่วนของร่างกาย

- ต้องใช้เวลาถึงจะเห็นผลการรักษา

ดาว


กดไลก์

5. การฉีด Mesotherapy ปลูกผม

​- ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเตรียมของมาก ในการฉีด และไม่ต้องพักฟื้นหลังจากฉีดสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

-อาจมีรอยเข็มหลังจากการฉีดได้ (สามารถหายเองได้)

ดาว

กดไลก์


Innohaira

INNO HAIRA ( เร่ง ลด ล๊อค บล๊อค กระตุ้น ) ด้วยพลังงานแห่งสารสกัดจากธรรมชาติ ช่วยฟื้นฟูการงอกของเส้นผม

Rosemary Extract เร่งการงอกใหม่และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณรากผมพร้อมต้านการอักเสบ

Camellia Sinensis Leaf ปกป้องเส้นผมจากอนุมูลอิสระพร้อมบำรุงให้ผมแข็งแรงไม่หลุดร่วง

Saw Palmetto ช่วยลดการขาดหลุดร่วง รากผมฝ่อผมบาง โดยการยับยั้ง Enzymes 5α-Reductase เฉพาะจุดโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย

Ginseng ยืดระยะการเจริญเติบโตของวัฎจักรเส้นผม (Anagen) ให้ยาวนานขึ้น

Soy Isoflavones กระตุ้นการสร้างเส้นผม ช่วยดักจับ DHT แบบเฉพาะจุดต้นตอของปัญหาเรื่องผมร่วง

Placenta Extract อุดมไปด้วยโกรทแฟคเตอร์ (Growth factor) นานาชนิดที่สำคัญต่อการทำงานของวงจรชีวิตผม นอกจากช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากผม ยังเสริมการสร้างหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงเส้นผมได้อย่างทั่วถึง

Vitamins (มัลติ วิตามิน) วิตามินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญต่อโครงสร้างของเส้นผม (Pro-Vitamin B5 Biotin Cobalamin Active form VitaminB9, B6, A, D, E) ถือว่าเป็นปัจจัยในการเร่ง, ชะลอความเสื่อม, การซ่อมแซมของเส้นผม และ ช่วยปกป้องสุขภาพของเส้นผม และ หนังศีรษะ จากอนุมูลอิสระของมลภาวะภายนอก

Copper Peptide ช่วยกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผมปกป้องและลดอาการบาดเจ็บของหนังศีรษะ

Trimethyl glycine (เบทาอีน) เป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโนที่สำคัญต่อโครงสร้างโปรตีนในเส้นผมที่ช่วยลดการขาดหลุดร่วง ลดการเปราะหัก ส่งผลให้เส้นผมหนาและแข็งแรงมากยิ่งขึ้น



สนใจสินค้าของ INNO HAIRA สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ได้ที่ 061-5325495 หรือ กดเเอด Line ด้านล่างได้เลยค่ะ


13 views0 comments
bottom of page