top of page

ทำความรู้จักกับสุดยอดวิตามินผิวสวย Niacinamide (วิตามินบี 3)

Updated: Dec 26, 2022

วิตามิน B3 ตัวช่วยฟื้นฟูผิวจากธรรมชาติ

เนรมิตผิวสวยภายในสู่ภายนอก

ผิวอ่อนแอ ผิวหน้าไม่แข็งแรง



วิตามินบี 3 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Niacin, Niacinamide, Nicotinamide มีลักษณะ เป็นผงสีขาว และเป็นวิตามินที่สามารถละลายน้ำได้ไนอะซินสามารถถูกสร้างขึ้นได้โดยวิตามินบี 2 และวิตามินบี 6 เปลี่ยนกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) เป็นไนอะซิน ดังนั้น ผู้ที่ขาดวิตามินบี 2 และวิตามินบี 6 จึงได้รับวิตามินบี 3 หรือไนอะซิน น้อยลงหรือไม่ได้ไปด้วยแหล่งวิตามินบี 3 จากธรรมชาติ ปลา เนื้อไม่ติดมัน ผลิตภัณฑ์โฮลวีท บริวเวอร์ยีสต์ ตับ จมูกข้าวสาลี ปลา ไข่ พืชตระกูลถั่ว เนื้อขาวจากพวกสัตว์ปีก อะโวคาโด อินทผลัม มะเดื่อฝรั่ง ลูกพรุน วิตามินบี 3 เป็นหนึ่งในวิตามินไม่กี่ตัวที่ค่อนข้างเสถียรในอาหาร ทนต่อกระบวนการปรุงอาหาร และการเก็บรักษา


ประโยชน์ของวิตามินบี 3


- ช่วยลดเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ จึงเหมาะสำหรับคนที่กำลังมีปัญหาสิว และยังช่วยลดรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว รวมทั้งลดอาการรอยแดงจากผิวอักเสบอีกด้วย


- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ผิวที่ถูกทำร้ายจากฝุ่น มลภาวะ และช่วยสร้างชั้นผิวให้แข็งแรง ทำให้ผิวกลับมาสดใสและมีสุขภาพดี


- ช่วยลดเลือนริ้วรอย ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย โดยการสร้างคอลลาเจน ให้ผิวกระชับเต่งตึง


- ช่วยฟื้นฟูผิวที่แห้งหยาบกร้าน จากการขาดน้ำ ให้กลับมานุ่มชุ่มชื่น สุขภาพดี


- ช่วยควบคุมความมัน จากการผลิตน้ำมันในผิวให้มีความสมดุลมากขึ้น น้ำมันและสิ่งสกปรกต่างๆ จึงเข้าไปอุดตันอยู่ในรูขุมขนน้อยลง ช่วยให้รูขุมขนแคบลง และสามารถลดการเกิดสิว


- ช่วยซ่อมแซมเซลล์ผิวหลังจากโดนรังสียูวี หรือมลภาวะต่างๆ ที่ส่งผลเสียต่อผิวหมองคล้ำให้ผิวกลับมาขาวใส


งานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาสิว

การทา vitamin B3 ที่ 4% กับ Clindamycin 1% เพื่อการรักษาอาการอักเสบของสิว แอนตี้เชื้อแบคทีเรีย (Anti-bacteria) ดูแลสิวอักเสบได้ดี (Anti-inflammatory) โดยทาเช้าเย็นระยะเวลา 2 เดือน ทดลองกับคน 36 คน พบว่า 82% ของกลุ่มคนที่เข้ารับการทดลอง มีการอักเสบจากสิวลดลง ในขณะที่ผลการรักษาด้วย Clindamycin 1% กับอีก 36 คน นั้นช่วยลดการอับเสบได้ 68%


จากงานวิจัยสรุปได้ว่า Nicotinamide สามารถลดสิว หลังการรักษา 4 และ 8 สัปดาห์


Shalita, A. R., Smith, J. G., Parish, L. C., Sofman, M. S., & Chalker, D. K. (1995). Topical nicotinamide compared with clindamycin gel in the treatment of inelammatory acne vulgaris. International journal of dermatology, 34(6), 434-437.

Khodaeiani, E., Fouladi, R. F., Amirnia, M., Saeidi, M., & Karimi, E. R. (2013). Topical 4% nicotinamide vs. 1% clindamycin in moderate inflammatory acne vulgaris. International journal of dermatology, 52(, 999-1004.

Walocko, F. M., Eber, A. E., Keri, J. E., Al‐harbi, M. A., & Nouri, K. (2017). The role of nicotinamide in acne treatment. Dermatologic therapy, 30(5), e12481.



bottom of page